เรื่องราวโดยย่อ ของ George Polychronidis ผู้ก่อตั้งและหัวหน้าทีมออกแบบอินติเกรตแอมป์ Moonriver Audio
January 27, 2022 - by ธานี โหมดสง่า
“.. ครอบครัวของผมมีชุดเครื่องเสียงไฮไฟก่อนที่ผมจะลืมตาดูโลกซะอีก และสิ่งนี้มีผลกระทบกับตัวผมอย่างมาก พูดได้ว่า ผมเติบโตขึ้นมาท่ามกลางแผ่นเสียงไวนิลกับชุดเครื่องเสียงไฮไฟนั่นเอง เรื่องราวทั้งหมดมันเริ่มต้นขึ้นตอนที่ผมยังเป็นวัยรุ่นในช่วงกลางยุค 80 เป็นช่วงที่ผมจับหัวแร้งตัวแรกเพื่อลงมือทำวิทยุ FM ผมยอมรับว่าหลงรักเทคโนโลยีและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์มาตลอด ตั้งแต่ผมยังเป็นเด็ก แต่ส่วนใหญ่แล้วเป็น ดนตรี กับ เสียง ที่ผมหลงไหล ผมมีอัลบั้มแรกเป็นเทปเมื่อปี 1979 ตั้งแต่นั้นมาผมก็ไม่เคยหยุดซื้อแผ่นเสียงและซีดีเลย..”
ผมใช้เวลาว่างส่วนใหญ่ในชีวิตไปกับการฟังเพลง ดูคอนเสิร์ต และพยายามทำความเข้าใจเกี่ยวกับระบบเสียง จริงๆ แล้วผมควรจะไปประกอบอาชีพเป็นซาวนด์เอนจิเนียร์ เพราะผมเคยนั่งฟังและวิเคราะห์งานบันทึกเสียงทุกชุดที่ “พูด” กับผมได้เป็นเดือนๆ ในไม่ช้าผมก็จมอยู่กับมนต์ของเสียงและสิ่งนี้ได้กลายมาเป็นความหลงใหลในที่สุด
ผมมีพื้นฐานเป็นอินดัสเชี่ยลดีไซน์และนักออกแบบอินเตอร์เฟซสำหรับผู้ใช้ และยังเป็นวิศวกรทางด้านไฮ–ไฟฯ ด้วย นอกจากนั้นผมยังได้ซ่อม, ทดสอบ และลองฟังเครื่องขยายเสียงวินเทจ, เครื่องหลอดและโซลิดสเตท, เครื่องเล่นแผ่นเสียง, เครื่องบันทึกเทป และอุปกรณ์เครื่องเสียงอื่นๆ อีกหลายร้อยรายการ อาชีพของผมในฐานะวิศวกรเครื่องเสียง และนักออกแบบสาขาอินดัวเชี่ยลดีไซน์ ทำให้ผมมีโอกาสสั่งสมประสบการณ์ที่จำเป็นเพื่อใช้ในการพัฒนาแบรนด์ Moonriver Audio ขึ้นมา
โปรเจคสำหรับการทำ Model 404 เริ่มต้นเมื่อ 4 ปีที่แล้ว ในอดีต ผมเคยออกแบบและผลิตแอมพลิฟายเออร์, ปรีแอมปลิฟายฯ และโฟโนสเตจจำนวนมากโดยใช้หลอดหรือวงจรโซลิดสเตต ซึ่งทำไว้สำหรับใช้ส่วนตัวและทำให้กับลูกค้าบางราย การตัดสินใจเริ่มพัฒนา Moonriver Audio Model 404 เกิดขึ้นเมื่อผมมีความคิดว่า ทั้งความคิดและประสบการณ์ของผมโตพอที่จะทำผลิตภัณฑ์ออกสู่ตลาดอย่างจริงจังแล้ว
แนวคิดคือการสร้างแอมปลิฟายเออร์ที่น่าพึงพอใจ ใช้งานง่าย มีความยืดหยุ่นสูง และมีราคาไม่แพง ที่สามารถใช้กับลำโพงทั่วไปจนถึงลำโพงที่มีความไวต่ำเพื่อให้ได้เสียงที่มีคุณภาพสูง เป็นแอมปลิฟายสำหรับการใช้งานในชีวิตจริง นี่ไม่ใช่งานที่ง่ายเลย อุปสรรคหลักๆ ก็คือข้อจำกัดทางด้านราคาและคำว่า “ทำในยุโรป” นี่แหละ
Moonriver Audio Model 404 ได้รับการวิจัยในทุกรายละเอียดที่เป็นไปได้ ผมคิดว่า “ไดนามิก” เป็นพารามิเตอร์ที่สำคัญที่สุดในการสร้างเสียงออกมาจากสื่อบันทึก รองลงมาคือ “ความโปร่งใส” และ “โทนเสียง” ที่ไม่มีสีสัน ตัวอย่างเช่น หากการบันทึก/โปรดักชั่นทำอย่างถูกต้อง เปียโนควรให้เสียงเหมือนเปียโน ซึ่งหมายถึงมาตราส่วน, ความแตกต่างระหว่างโน้ต, ความเสื่อมของแต่ละโน้ต และคอนทราสต์ระดับไมโครไดนามิกระหว่างที่แทรกอยู่ระหว่างระดับเสียงที่สูงกว่าและต่ำกว่า สำหรับกีตาร์โปร่ง คุณก็ควรจะได้ยินความแตกต่างระหว่างสายไนลอนหรือสายโลหะได้อย่างง่ายดายเช่นกัน ในวงออเคสตราหรือวงดนตรีขนาดใหญ่ คุณควรแยกแยะเครื่องดนตรีต่างๆ ออกจากกันได้ และรับรู้ถึงตำแหน่งของนักดนตรีที่ปรากฏขึ้นในอากาศได้ด้วย
รายละเอียดเสียงที่มีระดับความดังต่ำๆ อย่างเช่นเสียงซ่าของเนื้อเทปที่อยู่ในงานบันทึกเสียงเก่าๆ, เสียงรบกวนเบาๆ ที่ถูกบันทึกมา ตลอดจนเสียงที่เกิดจากข้อผิดพลาดเล็กๆ น้อยๆ ในการมิกซ์ หรือเสียงที่แตกต่างกันในแต่ละเทคของการบันทึกก็ควรจะถูกเปิดเผยออกมาโดยไม่มีลักษณะที่ถูกเน้นมากเกินไป “ความโปร่งใส” มีหมายความว่า แผ่นเสียงทุกแผ่น รวมถึงแผ่นซีดีแต่ละแผ่นควรจะให้เสียงที่แตกต่างกัน และนี่คือการทดสอบคุณภาพของแหล่งที่มาของเพลงและลำโพง เพื่อให้ได้คุณภาพระดับนี้ ทุกองค์ประกอบของ Moonriver Audio Model 404 จึงได้ถูกคัดเลือกมาใช้ในการผลิต หลังจากผ่านการทดสอบด้วยการฟังอย่างเข้มข้นในระดับของความเชื่อที่ว่า “ทุกอย่างมีความสำคัญต่อเสียง“
มีการศึกษาอีกชิ้นหนึ่งที่ทำสำเร็จเพื่อให้เกิดความยั่งยืน ความน่าเชื่อถือ และความสามารถในการซ่อมแซม แตกต่างจากแอมปลิฟายเออร์อื่นๆ Moonriver Audio ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อให้มีอายุการใช้งานที่ยาวนานหลายทศวรรษ เนื่องจากประสบการณ์ในการซ่อมของผม และยังทำให้ง่ายต่อการบริการซ่อมแซมอีกด้วย ด้วยเหตุนี้ เราจึงใช้เฉพาะส่วนประกอบแบบแยกชิ้นเท่านั้น หลีกเลี่ยงการใช้ไอซี เนื่องจากมีตัวเลือกต่างๆ มากกว่า และมีความทนทานต่อการใช้งานสูงกว่า ไม่มีฟังก์ชันสแตนด์บายเพื่อการทำงานที่เสถียรกว่า
ต่างจากรูปลักษณ์ภายนอกของ Moonriver Audio Model 404 ก็คือภายในที่เรียบง่ายอย่างยิ่งและเป็นไปตามแนวทางของเครื่องเสียงไฮเอ็นด์ฯ นั่นคือเส้นทางเดินสัญญาณที่สั้นมาก, ใช้ส่วนประกอบน้อยมาก และใช้ส่วนประกอบที่มีคุณภาพสูงในเส้นทางเดินสัญญาณ, ไม่ได้ใช้วงจรเรกูเลเตอร์แบบถูกๆ และมีการออกแบบที่เน้นความสามารถในการจ่ายไฟ เพราะภาคจ่ายไฟเป็นหัวใจสำคัญของการออกแบบที่เอาจริงเอาจังทางด้านเสียง เราใช้วิธีแยกภาคจ่ายไฟสำหรับเลี้ยงวงจรแต่ละส่วน โดยเริ่มจากแยกขดลวดบนหม้อแปลงไฟฟ้า หม้อแปลงแบบบาลานซ์ถูกเชื่อมต่อแบบขนานและไม่มีผลกับเสียง สามารถตัดการเชื่อมต่อได้แม้ในขณะทำงานโดยไม่สังเกตเห็นความเปลี่ยนแปลงของเสียงเกิดขึ้นเลย.!!
แม้ว่าจะมีชิปไอซีสมัยใหม่สำหรับแอมปลิฟายแบบสเตริโอให้เลือกใช้มากมาย แต่เราเลือกใช้เพาเวอร์แอมป์โมดูล Class-AB ที่ให้ความยืดหยุ่นสูง และไวต่อส่วนประกอบภายนอกกับภาคจ่ายไฟ นั่นหมายความว่า คุณสามารถปรับจูนเสียงได้ตามรสนิยมของคุณหากคุณรู้วิธีใช้งานมัน ไม่ใช่โมดูลแบบที่มีบุคลิกเสียงตายตัว
ข้อดีอีกประการหนึ่งของโมดูลเหล่านี้คือพวกมันมีความเสถียรอย่างยิ่ง ทั้งทางอิเล็กทรอนิกส์และทางความร้อน มีเส้นทางสัญญาณสั้นมาก ทรานซิสเตอร์ครึ่งหนึ่งถูกปรับแต่งด้วยเลเซอร์ และรวมถึงการป้องกันทั้งหมด เช่น การปิดเครื่องเมื่อมีความร้อนสูงเกิน, ระบบเซอร์โวสำหรับ DC อ๊อปเซ็ต, การป้องกันแรงดันไฟเกิน, การป้องกันไฟฟ้าลัดวงจร ฯลฯ มันมีระดับความปลอดภัยที่คุณไม่สามารถหาได้ด้วยการออกแบบด้วยวงจรแบบแยกชิ้นที่เรียกว่า discrete
Rogers LS3/5A Classic ลำโพงคู่ชีวิต Part 1
โดย อ.วิจิตร บุญชู
https://www.thewave-online.com/test-report/rogers-ls3-5a-classic-ลำโพงคู่ชีวิต-part-1/
รหัสลำโพงมอนิเตอร์ ที่ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งชาติของอังกฤษ BBC: British Broadcasting Corporation วางกำหนดมาตรฐานเอาไว้ใช้งานนั้น มีหลากหลาย บางรุ่นใช้งานเฉพาะในสตูดิโอ บางรุ่นใช้งานนอกสตูดิโอ และงานเฉพาะอย่างที่ ทีมรีเสิร์ชออกแบบ จะเป็นผู้นำเสนอต่อคณะกรรมการของ BBC ให้มีการอนุมัติดีไซน์ดังกล่าว และนำเอาต้นแบบส่งไปผลิตยังโรงงานที่สามารถประมูลและผลิตตามเงื่อนไขของ BBC ได้
ลำโพงมอนิเตอร์ของ BBC ใช้รหัส LS ที่หมายถึง Loudspeaker เริ่มจากอนุกรม LS1/, LS2/, LS3/, LS4/, LS5/ เป็นต้น ส่วนต่อท้ายของรหัสที่มีเครื่องหมาย / จะเป็นตัวเลขใด ในแต่ละรุ่น ขึ้นกับช่วงเวลาที่ออกแบบ และกำหนดการใช้งาน ขนาดของตู้ลำโพง มีทั้งขนาดใหญ่และเล็ก
การแยกประเภทการใช้งาน จะมีทั้งในสตูดิโอ งานกลางแจ้งหรือใช้นอกอาคาร งานกระจายเสียงวิทยุ งานแพร่ภาพและเสียงของสถานีโทรทัศน์ มีครั้งเดียวเท่านั้น ที่ต้องออกแบบลำโพงมอนิเตอร์สเกลเล็กสุด สำหรับการใช้งานที่แยกออกมาจากปกติคือ ลำโพงมอนิเตอร์สปีกเกอร์สำหรับในรถโมบายล์เคลื่อนที่ สำหรับงานข่าวถ่ายทอดสดต่างๆ เป็นการเฉพาะ (และนั่นคือที่มาของ LS3/5A)
นอกจาก LS2/ ที่เป็นเฉพาะตัวขับหรือไดรเวอร์แล้ว นอกนั้นจะเป็นลำโพงประกอบลงตู้สำเร็จเพื่อการใช้งานทั้งสิ้น บางรุ่นออกแบบมาแล้ว ก็ยกเลิกโครงการไปเลย ไม่ได้นำมาใช้งานจริง ขึ้นกับความเห็นชอบของทาง BBC หรืออันเนื่องมาจาก รุ่นใหม่ๆ อาจจะเหมาะสมกว่ารุ่นเก่า
ลำโพงมอนิเตอร์ของ BBC นั้น ไม่ได้ออกแบบมาสำหรับการใช้งานแบบโฮมออดิโอ จุดประสงค์หลักในการออกแบบเน้นเรื่องของความถี่เสียงที่เที่ยงตรงโดยมีค่าเบี่ยงเบนไม่เกิน 1 ถึง 3 dB ทั้งในทางบวกและลบ เมื่อวัดค่าจาก เกน 0 เดซิเบล หมายความว่า เรื่องของความแม่นยำเที่ยงตรงจะอยู่เหนือเรื่องของบุคลิกเสียงใดๆ ทั้งสิ้นทั้งปวง
การกำเนิดของ BBC LS3/5A เริ่มต้นในช่วงปี 1970 อันเนื่องมาจากปัญหา ทาง BBC ได้มีโครงการ รถแวนสำหรับการถ่ายทอดสดนอกสถานที่ หรือรถโมบายล์ ในการนี้ ทาง BBC พยายามอย่างยิ่งที่จะนำเอาลำโพงที่มีอยู่ดั้งเดิม และลำโพงในท้องตลาดมาใช้งาน แต่ก็ไม่ประสบผลสำเร็จทั้งในแง่คุณภาพ บ้างก็มีขนาดใหญ่เกินไป หรือเล็กเกินไป ลำโพงหลายคู่มีบุคลิก หรือมีความผิดเพี้ยนเบี่ยงเบนไม่เป็นที่ยอมรับได้
อันที่จริง ในขณะนั้น BBC มีลำโพงรุ่น LS3/1 และ LS3/4 ใช้งานสำหรับนอกสถานที่ อยู่แล้ว แต่ก็ยังมีขนาดไม่เล็กพอสำหรับการใช้งานในรถแวนที่จะใช้เป็นรถโมบายล์ (OB Van) ซึ่งลำโพงคู่นี้จึงจำเป็นจะต้องออกแบบให้ใช้งานได้สมบูรณ์ที่สุดในพื้นที่แคบๆ และต้องฟังในระยะใกล้ๆ ลักษณะ Near Field ด้วย
ช่วงเวลาที่ยังหาทางลงตัวไม่ได้ ในขณะนั้นทางทีมวิจัยลำโพงมอนิเตอร์ของ บีบีซี อันมี H.D. Harwood M.E. Whatton และ R.W. Mills กำลังออกแบบลำโพงที่ย่อส่วนจากมอนิเตอร์ ขนาดใหญ่ หรือโครงการ Acoustic Scaling ให้มีมอนิเตอร์สปีกเกอร์ขนาดเล็กลงอยู่พอดี โครงการ LS3/5 จึงเหมาะอย่างยิ่งสำหรับงานของทาง BBC
โดยทางทีมออกแบบค้นคว้าวิจัย ได้ตั้งเป้าไว้ที่ การย่อส่วนเสียงดนตรีจริงให้เหมือนที่สุด คือย่อส่วนจากการแสดงดนตรีสดในสถานที่จริงลงมาที่แปดเท่า โดยยังคงมีความแม่นยำดุจดังได้ฟังดนตรีที่บริสุทธิ์สะอาดเป็นเนื้อแท้
ในช่วงของการออกแบบนั้น ตั้งเป้าไว้เพียงการตอบสนองความถี่ที่ 100-20,000 Hz เท่านั้น แต่เอาเข้าจริงๆ ปรากฏว่าลำโพงต้นแบบกลับสามารถสนองความถี่ดีกว่าที่คาดไว้คือ 70- 20,000 Hz โดยมีค่าเบี่ยงเบนไม่เกิน 3 ดีบี โดยระยะแรก BBC กำหนดให้ใช้ตัวขับเสียงจาก KEF คือทวีตเตอร์รุ่น T27 และวูฟเฟอร์ B110
บางคนอาจสงสัยว่า ความสัมพันธ์ที่ดีระหว่าง BBC และคุณ Raymond E. Cooke ผู้ก่อตั้ง KEF น่าจะมีผลต่อการเลือกตัวขับเสียงด้วยเช่นกัน ก็เพราะ เรย์มอนด์ คุก นั้นเคยทำงานในแผนก Engineering Design Department ของ BBC ตั้งแต่ต้น ๆ ของช่วง 1950 เป็นต้นมา ก่อนจะอำลาจากไปตั้งโรงงานผลิตลำโพง KEF เป็นของตนเอง
ขนาดของตู้ของ LS3/5A กำหนดไว้ที่ 31X19X16 เซนติเมตร
ปัญหาจากการออกแบบครอสโอเวอร์ที่เน้นความแม่นยำเที่ยงตรงอย่างมาก ทำให้ค่าความต้านทานจะสูงถึง 15 โอห์ม เลยทีเดียว แต่เข้าใจว่า ทาง BBC ไม่ได้แคร์อะไร เพราะตั้งใจออกแบบมาใช้กับงานกระจายเสียงของตนเอง ไม่ใช่เชิงพาณิชย์ และยังได้ออกแบบภาคขยายให้มันคู่เคียงไปกับการใช้งานได้กับลำโพง LS3/5A ด้วย
LS3/5A กำหนดค่าความดังสูงสุดอยู่ที่ 98 เดซิเบล ที่ระยะฟังที่ห่างออกมา 1.5 เมตร โดยมีความแม่นยำของเสียงเป็นไปดังเจตนารมย์ดังกล่าวข้างต้น ในแง่ของตัวตู้ลำโพงจะใช้ไม้อัด (ไม้เบิร์ช) ที่มีความหนา 12 มิลลิเมตร และช่วงรอยต่อเข้ามุมใช้ไม้บีช (Beech) ยึดติดอย่างแน่นหนา การยึดแผงแบบเฟิ่ล ก็จะต้องใช้สกรูที่กำหนด อัดด้วยกาวไม่ให้มีรูรั่วใดๆ เป็นโครงตู้ปิดทึบ ที่แม้แต่อากาศก็จะต้องไม่เล็ดรอดออกมาทางรูของสกรูได้อย่างเด็ดขาด
สำหรับการซีลภายในตู้ เป็นงานที่ละเอียดอ่อน ด้วยการบุโฟมโพลียูรีเทนหนาประมาณหนึ่งนิ้วที่ผนังด้านบนและด้านล่าง ผนังด้านข้างใช้บุขนาด 16 มิลลิเมตร เป็นการผนึกรอยต่อกักเก็บพื้นที่ และปริมาณอากาศภายในมิให้หลุดรั่วออกมา
ในเวลานั้นได้มีการทดสอบในเรื่องของไม้อัดที่ประกบช่วงรอยต่อแบบอื่นๆ ที่จะนำมาใช้กับลำโพงรุ่นนี้ด้วยเช่นเดียวกัน แต่ผลปรากฏว่านอกจากไม้บีชแล้ว ไม้อัดแบบอื่นๆ ทำให้ย่านความถี่ของลำโพงนั้นเปลี่ยนแปลงไปอย่างใช้ไม่ได้เลย เราจะพบว่า ลำโพง LS3/5A ที่ผลิตกันในภายหลัง แต่ละโรงงานหากขาดความพิถีพิถันก็จะทำให้เสียงแปรเปลี่ยนไปต่างๆ นานา
จากการสะสมลำโพง BBC Monitor LS3/5A ของผมมาหลายสิบปี ที่สุดก็เลือกเก็บไว้เกือบยี่สิบคู่ ส่วนที่ยอมรับไม่ได้ และไม่เก็บบางคู่ เพราะว่าเกิดความอิดหนาระอาใจกับการผลิตที่ไม่ได้มาตรฐานของผู้ผลิตที่รับไลเซนส์มาหลายเวอร์ชั่น จึงทำให้ต้องขายออกไปหลายคู่เช่นเดียวกัน เพราะมันห่างชั้น คำว่า BBC Monitor เกินไป
ข้อแนะนำคือ หากจะหาซื้อลำโพง LS3/5A ให้เลือกจากผู้ผลิตประเทศในอังกฤษเท่านั้นครับ จะมั่นใจได้มากกว่า
ลำโพง LS3/5A ชุดแรก ผลิตโดยบริษัท Swisstone หรือ Rogers มันได้ถูกนำไปใช้งานครั้งแรกในรถโมบายล์ของสถานีวิทยุโทรทัศน์ บีบีซี จำนวน 3,500 ตู้ ต่อมามีผู้นำไปใช้งานในลักษณะโฮมออดิโอ แล้วปรากฏว่าเป็นที่ประทับใจของนักเล่นในระดับออดิโอไฟล์จำนวนมาก จึงมีผู้มาขอสิทธิบัตรจากทางบีบีซีไปผลิตในเชิงพาณิชย์
ลำโพง LS3/5A ผ่านกาลเวลามายาวนาน นับตั้งแต่ปี 1977 ที่เริ่มมีใช้ในกิจการของ BBC เป็นต้นมา Rogers เองก็เริ่มนำมาวางจำหน่ายในท้องตลาด เมื่อปี 1989 ได้รับความนิยมอย่างรวดเร็วในทันที โดยวางจำหน่ายเพียงคู่ละ104 ปอนด์ หรือไม่เกิน 5,000 บาทในช่วงเวลาขณะนั้น
อันที่จริงบริษัทแรกที่ขอไลเซนส์ จาก BBC มาผลิตคือ Spendor เมื่อปี 1984 แต่ความนิยมความเชื่อถือจะเป็นรอง Rogers อาจจะเนื่องมาจาก Rogers เป็นผู้ผลิตตามมาตรฐานแรกสุด และเป็นผู้นำส่งให้กับทางบีบีซีโดยตรงด้วยเช่นกัน
ตามรอยเส้นทางประวัติศาสตร์ของ LS3/5A มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงหลายครั้ง นับตั้งแต่เริ่มประกาศโครงการในปี 1974 เป็นต้นมา และนำออกใช้งานจริงปี 1977 เช่น ในปี 1988 มีการเปลี่ยนขอบยางของตัวขับให้มีความยืดหยุ่นมากขึ้นรวมทั้งปรับปรุงอุปกรณ์ครอสโอเวอร์เน็ตเวิร์ก จึงทำให้มีรุ่น 11 โอห์มขึ้นมา ส่วนในปี 1990 มีการปรับเปลี่ยนเป็นขั้วต่อแบบไบร์-ไวริ่ง เพิ่มเติมขึ้นมาอีก
ปี 1992 เริ่มยอมรับในการปรับเปลี่ยนตัวขับเสียงที่เคยใช้ ของ KEF มาเป็นของบริษัทอื่นๆ เพราะเหตุที่ทาง KEF มีการปรับเปลี่ยนสายงานการผลิตอันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงทีมงานบริหาร
ในปี 1993 Rogers ได้ถูกซื้อกิจการไปเป็นส่วนหนึ่งของ Wo Kee Hong Group บริษัทHolding Company ยักษ์ใหญ่ ของฮ่องกง และนำเอา Rogers LS3/5A มาผลิตอีกอย่างน้อย 3-4 เวอร์ชั่น ในโรงงานประเทศจีน และประสบผลสำเร็จอย่างดีกับลำโพงเพียงรุ่นเดียวที่สร้างรายได้ให้อย่างมหาศาล
บัดนี้การได้กลับมาอยู่ในมือผู้บริหารอังกฤษอีกครั้ง ในช่วงระยะเวลาไม่กี่ปีที่ผ่านมา ถือเป็นข่าวดีที่เราจะได้สัมผัสกับผลิตภัณฑ์แบบดั้งเดิม ออกแบบโดยกางตำราจาก “พิมพ์เขียวของ BBC” มาปรับปรุง และผลิตด้วยความเข้าใจในผลิตภัณฑ์ดั้งเดิมอย่างแท้จริง นี่คือเหตุผลที่ Rogers LS3/5A Classic และ LS5/9 Classic ได้รับรางวัลจากสถาบันผู้สื่อข่าวด้านออดิโอไฟล์อย่างมากมายท่วมท้น ในระยะเวลาอันสั้นๆ เท่านั้น!!!
Reference สำหรับงานทดสอบ
Sugden IA4 Anniversary
LFD Mistral Integrated Amp.
Denon DCD 2500ne
NAD M51 DAC
QUAD Model 44 Pre
QUAD Model 606 Power
Marantz Model 8 Tube Power Amp.
ELAC Miracord 90 Turntable
NAD M10 Streaming Amp
โปรดติดตาม Part 2 ว่าด้วยการทดสอบ Rogers LS3/5A Classic โดยละเอียดครับ
Rogers LS3/5A Classic ลำโพงคู่ชีวิต Part 2
โดย อ.วิจิตร บุญชู
https://www.thewave-online.com/test-report/rogers-ls3-5a-classic-ลำโพงคู่ชีวิต-part-2/
จากนี้ไป เราจะมาดูกันว่า Rogers LS3/5A Classic ที่นำเอาพิมพ์เขียวดั้งเดิมรุ่น 15 โอห์ม แรกสุดมาทำการผลิตขึ้นใหม่อีกครั้ง โดยผู้บริหาร นักออกแบบชาวอังกฤษคือ คุณ Andy Whittle มีความน่าสนใจอย่างไร ทีมวิศวกรด้านเสียงของ Rogers ได้คัดสรรความ ”ดั้งเดิม” มาพัฒนาให้ดียิ่งกว่า โดยการรับรองผลของ BBC อย่างเต็มที่
กำเนิดใหม่ของ Rogers LS3/5A Classic ถือว่ามาอยู่ในช่วงเทคโนโลยีตัวขับ Driver และการผลิตลำโพงได้เจริญก้าวหน้าสุดขีด ตัวขับที่เลือกผลิต และนำมาใช้ครั้งนี้ ต้องบอกว่า “โคตรเข้มงวด” ตามมาตรฐาน BBC ทุกประการ หากย้อนอ่านทวนต้น ลำโพงต้นแบบเคยทำไว้อย่างไร ก็ยังต้องเป็นเช่นนั้น โดยเฉพาะตัวตู้ เดินตามตำราเป๊ะ เพื่อให้ได้คุณภาพเสียงสุดขีดจริงๆ ด้วยการกลับไปใช้ตัวตู้เป็นไม้อัดเบิร์ชรัสเซีย ขนาดหนา 12 มม. ซีลรอยต่อทั้งตู้อย่างดี ไม่ให้มีรูรั่วแม้แต่เล็กน้อย
ช่วงประกบมุม และโครงหลักต่างๆ ใช้เนื้อไม้บีช เนื้อแข็ง ผิวภายนอกใช้วีเนียร์ไม้จริงเคลือบวอลนัท โรสวูด และโอลีฟ ตามมาตรฐาน จัดแมตช์ให้มีลายสมดุลกันตลอดทั้งตู้ ซ้ายขวา A และ B
ส่วนของกระจังหน้าหรือหน้ากากแบบผ้าถักทอ Tygan สีดำสวยงามในแบบดั้งเดิม เพิ่มเติมด้วยการยึดแผ่นผ้าติดด้านล่าง สำหรับช่วยดึงหน้ากากออกได้สะดวกขึ้น (แต่ก็ยังติดแน่นแข็งแรงด้วยตีนตุ๊กแกตามเดิม) หน้าตาเรียกว่า กลับไปเหมือนต้นแบบจริงๆ
ยกเว้น ด้านหลัง ขั้วต่อลำโพงไม่มีขั้วไบดิ้งโพสยื่นออกมา แต่ทำเป็นตัวรับแบบรูกลมบานาน่า เรียบสนิทไปกับผนังหลังตู้ไปเลย แรกๆ ผมก็ไม่ชอบใจนัก คิดว่าทำไมแค่จัดขั้วลำโพงเยี่ยมๆ ให้ลำโพงสักคู่หนึ่ง มันจะลงแดงตายหรือไง!!! แต่พอมาพิเคราะห์หลังจากทดสอบฟังไปกับลำโพง LS3/5A ในอดีตทุกคู่ จึงเข้าใจว่าเพราะเหตุใด
นั่นก็คือ ไดนามิคที่ทรงพลัง และอิมเมจเสียงแม่นยำราวจับวางของ LS3/5A Classic เป็นคำตอบครับ
ก็คือความพยายามให้ช่วงต่อสายลำโพง ลัด-สั้นที่สุด เพื่อสัญญาณจากแอมป์จะเข้าสู่ครอสโอเวอร์ โดยไม่มีอะไรขวางกั้น ดังนั้นความยาวแค่นิ้วเดียวของขั้วลำโพงไบดิ้งโพส ก็มีผลมหาศาลต่อรายละเอียดเสียงแล้ว!!!
ในส่วนของตัวตู้ทำมาประณีตสวยงาม ตู้ที่ผมได้รับมาเบิร์นและทดสอบนี้ เป็นสี Rosewood แดงฉ่ำได้ใจ แต่โดยความรู้สึกส่วนตัว ก็ยังไม่ค่อยชอบแผ่นสติ๊กเกอร์หนาแปะด้านหลังพร้อมลายมือเขียนซีรีส์นัมเบอร์นักเท่าไร ใจผมอยากได้เป็นแผ่นทองหรือเงิน แบบอลังการมากกว่า แต่ก็เถอะ… นี่คือรูปแบบคลาสสิกเดิมๆ ที่ไม่มีอะไรที่เกินเลย (ทุกตู้จะมีการแมตช์คู่ลำโพงเป็นซ้ายขวา มาตั้งแต่โรงงาน)
อุปกรณ์ภายในถือเป็นการอัพเกรดที่ดีกว่า LS3/5A ทุกรุ่นในอดีต ด้วยการเลือกแผ่นพีซีบอร์ดแผ่นเดียวหน้าเดียวแบบไฟเบอร์กลาสเกรด A หม้อแปลงแกนเหนี่ยวนำ ในชุดครอสโอเวอร์แบบลามิเนต M6 ซึ่งจะแยกใช้กับทวีตเตอร์อีกหนึ่งชุด ส่วนตัวเก็บประจุคัดเกรดแบบเมทัลไลซ์แรงดันสูง โดยที่ส่วนประกอบทั้งหมดจะทำการบัดกรีด้วยมือด้วยตะกั่วเงิน!!!
บางครั้งสิ่งที่มองไม่เห็น ก็สำคัญพอๆ กับที่มองเห็นได้ ….
ทวีตเตอร์โดม Mylar พร้อมวอยซ์คอยล์งานแฮนด์เมด Nomex แบบดั้งเดิม ที่น่าทึ่งคือการสั่งผลิตตัวเบสยูนิต กลับไปใช้เทคนิคดั้งเดิมต้นแบบของ BBC ด้วยวัสดุกรวยแบบ เบ็กซ์ทรีน โคน (Doped Bextrene Cone) ลำโพงแต่ละชุดจะนำมาจับคู่แมตช์แพร์ วัดและทดสอบอย่างพิถีพิถันที่โรงงานของ Rogers ในสหราชอาณาจักร
มีการวัดค่าของลำโพงทุกคู่ ทุกชุด และจัดเก็บบันทึกแต่ละซีเรียล นัมเบอร์เอาไว้ เพื่อช่วยให้เปลี่ยนไดรเวอร์ได้ง่ายขึ้นในอนาคตหากมีความจำเป็น
นั่นหมายความว่าลำโพงในคู่ที่คุณซื้อไป ถ้ามีความจำเป็นที่จะต้องเปลี่ยนตัวขับเสียงด้วยเหตุใดก็ตาม เสียงจะต้องกลับมาเหมือนเดิมอย่างที่คุณเคยฟัง 100 เปอร์เซ็นต์เต็มครับ
ที่สุดของที่สุด ในความประณีตพิถีพิถันทุกช่วงเวลาของงานประกอบลำโพง ดังที่ผู้ผลิตกล่าวว่า “รายละเอียดที่เล็กที่สุดไม่ได้สร้างความแตกต่างเล็กน้อย แต่สร้างความแตกต่างทั้งหมด ดังนั้น LS3/5A Classic ทุกคู่จึงมีมาตรฐานสูงสุด แม้แต่ช่องต่อสายลำโพงที่เป็นซ็อกเก็ตเรียบดังที่ผมคอมเม้นท์ไปตอนแรก คือซ็อกเก็ตมัลติคอนแทคชุบเงินแท้ ขนาด 4 มิลลิเมตรแบบ Single wired ที่ได้มีการนำเสนอต่อ BBC ว่ามันจะลดความผิดเพี้ยนการเชื่อมต่อได้ดีเยี่ยม จนได้รับการอนุมัติให้ปรับปรุงตรงนี้ได้ และในแง่เฟอร์นิชชิ่ง ผิวโรสวูด, วอลนัท และโอลีพ ทั้งสามสีผิวนี้ ทำด้วยมือโดยช่างฝีมือระดับปรมาจารย์ ในสหราชอาณาจักร สามารถอวดชาวโลกได้อย่างเต็มที่ครับ
การทดสอบลำโพงมอนิเตอร์ขนาดเล็กรุ่นนี้ ผมใช้แหล่งโปรแกรมทั้งเครื่องเล่นแผ่นเสียง เครื่องเล่นซีดี สตรีมมิ่ง ครบสูตร เพราะความเปลี่ยนแปลงในเพลงยุคนี้ ไม่เหมือนช่วงปี 1977 อีกต่อไป
แอมปลิไฟร์ เพียวคลาส A แอมปลิไฟร์วงจรน้อยแต่ประสิทธิภาพสูง แอมปลิไฟร์หลอดสุญญากาศ วินเทจ ที่ต่อสายลำโพงในขั้ว 16 โอห์ม เพื่อย้อนการเล่นกลับไปในยุค 60-70 ช่วงที่ลำโพง LS3/5A กำเนิดขึ้นใหม่ๆ
ที่สำคัญยกเอาลำโพงรุ่นดั้งเดิมทั้ง Rogers LS3/5A 15 โอห์ม รุ่นปรับปรุง 11 โอห์ม ลำโพง LS3/5A รุ่นขั้ว Bi-Wired ลำโพงที่ผลิตขึ้นมาใหม่ในช่วงปี 2010 ในเวอร์ชั่น 15 โอห์ม อีก 2 แบรนด์ มาเปรียบเทียบ รวมทั้งหมด 5 เวอร์ชั่น ในช่วงเปลี่ยนแปลงตัวขับและระบบครอสโอเวอร์เน็ตเวิร์ก
ทดสอบเปรียบเทียบกับ BBC Monitor LS5/12A ที่ เคยปรากฏตัวในแวดวงบีบีซีมอนิเตอร์ระยะหนึ่ง
ท้ายสุดคือทดลองใช้งานร่วมกับ Rogers AB1 ตู้ซับวูฟเฟอร์ดั้งเดิม ยุคปี 90 ด้วย
ผลสรุปน่าสนใจมาก ในฐานะคนสะสม LS3/5A นับเป็นช่วงเวลาที่ดี ที่ได้เรียนรู้ว่าลำโพงคู่นี้ถือว่าทรงคุณค่า ไม่ขึ้นกับกาลเวลาจริงๆ ผมใช้เวลารวมๆ กับลำโพง Rogers LS3/5A Classic อยู่นานร่วมเดือน นับแต่แรกที่ถูกสั่งตัวอย่างมาจากอังกฤษ ผ่านการเบิร์นตามที่ผมตั้งไว้ 180 ชั่วโมงครบถ้วน จากนี้ไปคือ ผลที่ได้จากการฟัง ของนักสะสมลำโพงตระกูล BBC Monitor LS3/5 A Classic
การทดสอบใช้ขาตั้ง MAVIN รุ่นไม้ประดู่แดง รุ่นขาตั้งไม้แก่นกระพี้เขาควาย, ขาตั้ง Atacama, ขาตั้งลำโพง LOVAN SOVEREIGN A-6 (24 inches) ผมขอสรุปเรื่องขาตั้งก่อนว่า
ขาตั้งโลหะเป็นขาตั้งที่ใช้คู่มากับ BBC Monitor LS3/5A กันมาเนิ่นนาน ซึ่งจะดีในแง่ พลังและความเด็ดขาดของหัวโน้ตดนตรี ที่ดูสมจริงสมจังและเบสลอยตัวเข้มข้นดีมาก ในกรณีคนที่ชอบเซ็ตอัพแบบละเอียดยิบขาตั้งโลหะของ LOVAN SOVEREIGN A-6 จะเหมาะมากๆ รองลงไปคือ Atacama สิ่งที่ต้องระวังนิดหน่อยคือต้องเซ็ตจนรู้สึกได้ว่า จะไม่มีเสียงคมแข็งใดๆ ออกมาในที่สุด
ส่วนขาตั้งไม้ ผมมีขาตั้งไม้สักท่อนที่ทำขึ้นเอง ใช้มานาน ขาตั้งไม้ทุเรียนแบบไม้เบาพิเศษ ผลที่ได้คือขาตั้งไม้สักจะให้สมดุลของเสียงหรือโทนัลบาลานซ์ดีมาก แต่เสียงกลางช่วงบนอาจจะไม่เปิดกว้างที่สุดดังที่ต้องการ
ขาตั้งไม้ประดู่ ของ MAVIN เสียงสงัด มีความอิ่มของเสียงลงตัวกับ Rogers LS3/5A Classic ดี แถมช่วงกลางบนก็เปิด เสียงสะอาด เบสลอยตัว ทว่าขาตั้งรุ่นไม้แก่นของกระพี้เขาควาย กลับจะให้เสียงแม่นยำกว่า อิมเมจแม่นกว่าขาตั้งไม้ประดู่ อีกทั้งให้ความอิ่มเอิบ น้ำหนักเสียงหนักแน่นจากมิดเบส จนถึงเบสลึกลงไปถึง 80Hz ได้สมจริงกว่าด้วย
การเลือกขาตั้งทั้งหมดนี้ เชื่อว่าจะมีผลต่อเสียง อย่างพอสมควรสำหรับลำโพงมอนิเตอร์ที่มีความแม่นแม่นยำเสียงเช่นนี้ครับ
เรียงลำดับความสมดุล ผมเรียงจาก ขาตั้ง MAVIN ไม้กระพี้เขาควาย กับขาตั้งโลหะ LOVAN SOVEREIGN A-6 ควรเป็นตัวเลือกอันดับแรกครับ ขาตั้งไม้ได้เรื่องความงดงามเพิ่มเติม แต่ราคาอาจจะสูงขึ้นมา นอกจากนั้นให้พิจารณาตามความพอใจทั้งความพอดี ความสวยงามที่แต่ละท่านจะพึงพอใจ
การจูนขาตั้ง ตรงนี้อย่ามองข้าม ให้ใช้ลูกน้ำวัดค่าเฉลี่ยด้านบนตู้ลำโพงให้สมดุลกันในทุกทิศทางด้วย ไม่ใช่แค่จูนเพื่อให้ขาตั้งเสมอกับพื้นห้องเท่านั้น เรื่องนี้ควรพิถีพิถันมากๆ นะครับ
ระยะห่างระหว่างลำโพงซ้ายและลำโพงขวา ของ Rogers LS3/5A Classic โดยวัดจากจุดศูนย์กลางลำโพงถึงจุดศูนย์กลางลำโพงอีกตู้หนึ่ง จะต้องอยู่ระหว่าง 1.45 เมตร ถึง 1.50 เมตร เป็นหลัก มากน้อยกว่านี้ อาจจะได้ผลของเสียงที่ไม่สมดุลก็ได้ ส่วนระยะห่างจากด้านหลังผนังกับลำโพง จะมีจุดสมดุล ที่ 0.90 เมตร ถึง 1.20 เมตร ห่างออกไป หรือใกล้กว่านี้ เล็กน้อยกับบางห้องได้ เพราะรูปแบบอคูสติกแต่ละห้องมีผลต่อเสียง ดังนั้นให้พิเคราะห์จากสมดุลของเสียง Tonal Balanced เป็นสำคัญ
ขอย้ำเตือนว่า กรณีเซ็ตอัพความห่างผนังด้านข้าง จะต้องไม่เท่าระยะความห่าง ของผนังหลังถึงลำโพงโดยเด็ดขาด!!!
ส่วนการนั่งห่างออกมาจากลำโพงทั้งคู่ ประมาณ 1.8 เมตร (ขึ้นกับความดังเฉลี่ยที่คุณฟัง)
ขาตั้งลำโพงที่มี Spike แนะนำให้ใช้ จานรอง Spike ของ COLD RAY Spike protector 2 ทุกจุดครับ เพื่อความสงัดของเสียง ลดไวเบรชั่นส่วนเกินให้ชะงัดที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ถ้าคุณต้องการเสียงซึ่งตรงต้องกับการออกแบบมาตั้งแต่ต้นรากฐาน ของ BBC
Rogers LS3/5A Classic ก่อนเบิร์น ย่านความถี่ก็ยังถือว่าสมดุลน่าฟังมาแต่เริ่มต้น แต่เมื่อเบิร์นครบ 180 ชั่วโมงแล้ว คุณจะรู้สึกว่าเสียงมันช่างมีเสน่ห์เร้าใจมากมายเกินกว่าที่คาดไว้ เสียงหลุดตู้ แบบไร้กรอบจำกัด พลังไดนามิคกว้างลึก เวทีเสียงอลังการมากตรงนี้ เหนือกว่า Rogers LS3/5A รุ่น 15 โอห์ม ดั้งเดิมอย่างเห็นได้ชัด ยิ่งฟังเพลงที่บันทึกในยุคใหม่ ต้องถือว่า Rogers LS3/5A Classic ทิ้งรุ่นเก่า ขาดลอย!!!
สเกลเสียงดนตรี และรายละเอียดมีสัดส่วนน่าประทับใจยิ่ง ฟังแล้วได้ความรู้สึกสัมผัสเสียงดนตรีทั้งจริงจังและงดงามไปในตัว อ่อนหวานได้ จริงจังและดุดันได้ ที่สำคัญเบสทอดตัวลึกอิ่มน่าจะดีกว่า LS3/5A ทุกเวอร์ชั่นที่ผมฟังมาทั้งหมด
ยิ่งได้ฟังจากแผ่นเสียงลองเพลย์ Rogers LS3/5A Classic ก็จะยิ่งสำแดงอิทธิฤทธิ์ได้เกินตัว ผมนึกว่ากำลังฟังลำโพงตู้ใหญ่ กว่านี้อีกสามเท่า!!!
เสียงที่ได้ต้องถือว่าสุดยอด ถ่ายทอดความเที่ยงตรงแม่นยำในระดับมหากาฬเลยทีเดียว โทนัลบาล้านซ์แบบนี้ นึกไม่ออกเลยว่าลำโพงตู้เล็กรุ่นไหนบ้างจะให้ได้ขนาดนี้
ในการฟังเพลง จาก Streaming ลำโพงคู่นี้ตอบรับได้อย่างยอดเยี่ยม เกินกว่าที่คิดเอาไว้มาก ให้สมดุลเสียงดีมากๆ
Rogers LS 3/5A Classic ให้ลักษณะพิเศษในแบบ มอนิเตอร์สปีกเกอร์ของ BBC อย่างหนึ่งที่ไม่เหมือนใคร คือสามารถควบคุมย่านความถี่วิกฤติช่วง 4-8 kHz ที่มักจะเป็นปัญหากับลำโพงตู้เล็กเมื่อมีสัญญาณเสียงดนตรีโหมประโคมหรือสะวิงแรงๆ ได้อย่างดีมาก
ผมทดลองถึงช่วงสุดท้ายในการเปรียบเทียบกับลำโพง LS3/5A ที่ผลิตและใช้ตัวขับเสียงในประเทศอังกฤษหลายเวอร์ชั่น พบว่า จุดที่ดีของ Rogers LS3/5A Classic โมเดลนี้ คือ สำหรับลำโพงทุกเวอร์ชั่น ล้วนมีเสียงในแนวเดียวกัน ให้ความถูกต้องเป็นเลิศ แต่ Rogers LS3/5A Classic จะเป็นรุ่นที่ให้ไดนามิคเร้นจ์ดีที่สุด เสียงเปิดสะอาดหลุดตู้ที่สุด กว่าทุกเวอร์ชั่นจริงๆ
Rogers LS3/5A Classic ย่อมไม่ใช่ลำโพงเล็กที่ดีที่สุดในโลก อย่างแน่นอนครับ ด้วยสนนราคาแสนกลางๆ ของลำโพงย่อมเผชิญหน้าคู่แข่งมากมาย
แต่ถ้าวัดกันที่ “ความแม่นยำสมจริง” ของเสียงแบบมอนิเตอร์ที่น่าอัศจรรย์แล้วละก็ มันคือลำโพงที่นำพาคุณกลับคืนมาสู่ความจริง ไม่เลอะเทอะเลื่อนเปื้อน ไม่แสดงบุคลิกเอาอกเอาใจผู้ฟัง มันจะบอกแค่ ความจริงอย่างยิ่ง กับคุณ อย่างไม่เบี่ยงเบนแม้แต่นิดเดียว
หมายเหตุเล็กน้อย*** สำหรับคนที่จะแสวงหา AB1 ตู้ซับวูฟเฟอร์มาใช้งานร่วมด้วย จากการทดสอบใช้งานกับ Rogers LS3/5A Classic ขอบอกตรงๆ ว่า ไม่รอดครับ ถ้าจะเอามาวางซ้อนกันเพื่อขยายเสียงต่ำ ผมว่ามันทำให้ “เสียมากกว่าได้” ทำให้เบสสวยๆ แต่เดิมขุ่นมัวเปล่าๆ
นอกจากเซ็ตอัพแยกตู้ วางห่างเป็นเงาด้านหลัง LS3/5A ตามคำแนะนำ คุณ Joseph Ki จะดีกว่า หรือไม่ก็หาแอ็คทีฟซับวูฟเฟอร์ชั้นดีมาจูนเข้ากันจะเหมาะกว่า
ผมทราบว่า Rogers ออกแบบ มาแล้วคือรุ่น AB3A Active Subwoofer
อีกวิถีทางหนึ่งคือ จัดเอา Rogers LS3/5A Classic มา Stack ซ้อนกัน สองตู้ต่อแชนแนล น่าจะเลิศกว่าเลยละครับ เท่าที่ผมเคยใช้งานมาก่อน ระบบนี้ จะเพิ่มเวทีเสียง พลังเสียง Full อย่างน่าประทับใจขีดสุดจริงๆ
วันนี้การกำเนิดใหม่ของ Rogers LS3/5A Classic เป็นการสร้างความตื่นเต้นในตลาดออดิโอไฟล์ ระดับปรากฏการณ์ เหมือนหยุดเวลาไว้ชั่วครู่ให้เราเกิดความคิดและเหตุผล
ใช่ เราอาจเดินทางไปกับทะเลลำโพงมากมายหลายรูปแบบมาแล้ว สักวันคุณอาจรู้สึกเหนื่อยล้า อยาก “ล้างหู” วันนั้นคือวันของ Rogers LS3/5A Classic โดยแท้จริง ไม่ว่าจะเป็นออดิโอไฟล์ระดับไหน ควรมีเป็นลำโพงคู่ชีวิต สักคู่หนึ่งครับ ขอยืนยัน
ผลิตในประเทศสวีเดน
ผลิตภัณฑ์ของเราได้รับการออกแบบและผลิตในประเทศสวีเดน เราประกอบแต่ละยูนิตด้วยมือ ซึ่งเป็นขั้นตอนที่ละเอียดและปราณีต การวิจัยที่มีความซับซ้อน การพัฒนาที่มีประสิทธิภาพ และการทดสอบการฟังอย่างครอบคลุม ซึ่งเป็นส่วนที่สนุก ซึ่งนำเราไปสู่การเลือกส่วนประกอบที่เหมาะสมสำหรับเสียงออดิโอไฟล์ที่ไม่มีการประนีประนอม.
เรายังให้ความสำคัญกับความยั่งยืนและความน่าเชื่อถือ ผลิตภัณฑ์ Moonriver มีการรับประกัน 3 ปี และได้รับการออกแบบมาให้ใช้งานได้นานหลายทศวรรษโดยไม่จำเป็นต้องบำรุงรักษาใดๆ
Audio Cables Story Part IV โดย อ.วิจิตร บุญชู
Silversmith Audio FIDELIUM
สายลำโพงแบนบางอย่างพิสดาร และลึกล้ำเหลือเชื่อ
มาวันนี้เราได้พบความพิสดารล้ำลึกของสายลำโพงใหม่ล่าสุด ที่นำเข้ามาในประเทศไทย เป็นสายที่เรียกว่าสายลำโพงไม่ถนัดปากเลยละครับ มันเหมือนดังกับแผ่นริบบิ้น บางเฉียบดุจแผ่นกระดาษ ความยาว 8 ฟุต แยกออกมาเป็น 4 แผ่น แผ่นสำหรับขั้วบวกจำนวน 2 แผ่น แผ่นสำหรับขั้วลบ 2 แผ่น
ย้อนกลับไปดู ที่มาของสายพิสดารชุดนี้ เจ้าของ หัวหน้าทีมออกแบบคือ คุณเจฟฟรีย์ สมิธ เป็นชาวไวโอมิง มาทางสายทหารที่เรียนจบปริญญาวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิศวกรรมทั่วไป จากสถาบันนาวีแห่งสหรัฐอเมริกา มีประวัติความเป็นมา ในการพัฒนาศาสตร์ทางด้านอาวุธ และค้นคว้าสภาพแวดล้อมแหล่งกำเนิดเสียงในมหาสมุทรอย่างช่ำชองมานาน แต่จริงๆ เขาชอบศึกษาด้านออดิโอเป็นชีวิตจิตใจ
ดังนั้นหลังเกษียณ จากกองทัพเรือในปี 2019 เจฟฟ์กลับมาอุทิศเวลาให้กับงานอดิเรกเกี่ยวกับออดิโอไฟล์ที่เขาชื่นชอบได้มากขึ้น เขาได้ก่อตั้งบริษัท Silversmith Audio ขึ้นมาเมื่อปี 2000 และได้ออกแบบและสร้างส่วนประกอบโลหะรูปแบบใหม่สำหรับเชื่อมต่อสัญญาณ ด้วยสูตรของเขาเอง เพื่อการส่งผ่านเสียงดนตรีจากแหล่งกำเนิดสู่ผู้ฟังโดยปราศจากการลดทอนคุณภาพเสียงอย่างเด็ดขาด ตามแนวคิดของเขา
และเพื่อเป็นการฉลองครบรอบ 20 ปี ดังนั้นในปี 2020 Silversmith Audio ภูมิใจนำเสนอสายลำโพงใหม่ทั้งหมดที่มีวิวัฒนาการ และการปฏิวัติครั้งสำคัญในการออกแบบสายเคเบิล Silversmith Audio FIDELIUM
สายลำโพง Silversmith Audio รุ่น FIDELIUM จึงมาในรูปแบบแหวกแนวน่าตกตะลึง!
โดยอาศัยหลักการคำนวณจากสมการของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ทีมงานของ Silversmith Audio จึงออกแบบสายลำโพง FIDELIUM ที่สะท้อนปรัชญาการออกแบบด้วยหลักการข้างต้นอย่างเที่ยงตรงที่สุด
นั่นคือ สายนำสัญญาณแบบริบบิ้นซึ่งบางเฉียบ (Ultra-thin) แบบ Single สำหรับแต่ละขั้ว ผนึกแนบแน่นตั้งแต่หัวจรดท้าย โดยไม่มีจุดของการเชื่อมหรือล็อคด้วย Crimped Connectors ใดๆ เหมือนสายสัญญาณทั่วไปในท้องตลาด นี่แหละคือการต่อวัสดุเข้าโดยตรงกับชุดเครื่องเสียงอย่างแท้จริง
สายนำสัญญาณแยกหุ้มอย่างอิสระด้วยฟิล์ม Polyimide ซึ่งบาง-เหนียวแต่แข็งแรง เพื่อคงรูปทรงเรขาคณิตของสาย ด้วยหลักพื้นฐานของ Air Dielectric การออกแบบที่ปฏิวัติวงการ คุณสมบัติด้าน Skin-effect ของวัสดุชั้นยอดที่เขาเลือกใช้คือ FIDELIUM อัลลอย ที่เขาระบุว่าสามารถนำสัญญาณได้เหนือกว่าทองแดงหรือเงิน ถึง 33 เท่า!!!
สายลำโพง FIDELIUM มีความบางน้อยกว่า 1/1000 ของ 1 นิ้ว มีประสิทธิภาพอันน่าทึ่ง ไม่มีจำนวนเส้นฝอย แต่เป็นแผ่นบางเฉียบที่สามารถส่งสัญญาณได้โดยไร้ความคลาดเคลื่อนของความถี่
และจากการทดสอบ มันช่วยลดปัญหา Phase Distortion ได้ดีกว่าทองแดงที่มีขนาดบางเบาเพียง 0.00018 นิ้ว รวมถึงดีกว่าสายริบบิ้นเงิน หรือเส้นลวดขนาด 64 gauge ใดๆ ที่เคยผลิตกันมาด้วย
ก่อนหน้านี้ช่วงเริ่มต้นบริษัท ได้มีการออกแบบสายรุ่นสุดยอดเป็นเรือธงไว้คือ PALLADIUM ที่มีราคาแพงมาก ยากที่นักเล่นเครื่องเสียงจะจับต้องได้ ต่อมาการศึกษาด้านวัสดุ การรีดสาย การตกผลึกสายแบบโลหะอัลลอย รวมถึงการห่อหุ้มสายที่มีพัฒนาขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้สายลำโพงรุ่นใหม่คือ FIDELIUM ซึ่งถูกพัฒนาให้มีประสิทธิภาพเหนือกว่าสายรุ่นสุดยอด PALLADIUM ถึงสามเท่าตัว
ที่น่าทึ่งคือ FIDELIUM มีราคาเพียง หนึ่งในสิบของราคาสาย PALLADIUM เท่านั้นเองครับ
สายลำโพง FIDELIUM มีขนาดความกว้าง 2.25 นิ้ว สายนำสัญญาณภายในมีพื้นที่ 0.75 ตารางนิ้ว ปลายสายเป็นขั้วต่อขนาดกว้าง 0.25 นิ้ว ซึ่งเข้าได้กับมาตรฐานขั้วต่อทั่วๆ ไป
ความน่าสนใจอีกประการหนึ่งคือ ขณะนี้ทาง Silversmith Audio มีเพียงผลิตภัณฑ์สายลำโพง และจั๊มเปอร์ เท่านั้น ไม่มีสินค้าอื่นๆ
แต่โครงการต่อไปที่จะมีการวางจำหน่ายคือ สายเคเบิล อินเตอร์คอนเน็คในรุ่น FIDELIUM แบบขั้วต่อ แบบ RCA และ XLR
หมายเหตุ ถ้าอยากทราบว่าสายลำโพงพิสดารนี้ มีความหนาเท่าไร เราคิดจากสูตรดังนี้
1 ไมครอน หนาเท่ากับ 1 ใน 25,000 ของ 1 นิ้ว
ความหนา 1 ใน 1,000 ของ 1 นิ้ว จึงเท่ากับ 25,000÷1,000 = 25 ไมครอน
สรุปคือ เนื้อโลหะอัลลอยของสายลำโพง Silversmith Audio FIDELIUM นั้น จะมีความหนาเพียง 25 ไมครอนเท่านั้นครับ (ทองคำเปลวหนาประมาณ 5 ไมครอน)
ทดสอบฟังและใช้งาน
ชุดซิสเต็มที่ใช้ทดสอบ มีลำโพง Harbeth Monitor 30.2 ภาคขยายแอมป์หลอด Line Magnetic LM-845 Premium เครื่องเล่นซีดีเพลย์เยอร์ GOLD NOTE CD-1000
ผมเคยทดสอบใช้งานสายแบนๆ มามากต่อมาก อย่างน้อยๆ สายเหล่านั้น มักมีการถักทอเส้นใยโลหะ หรือการไขว้สลับด้วยกรรมวิธีต่างๆ แต่สายลำโพง FIDELIUM จาก Silversmith Audio ทำเอาผมแปลกใจเป็นที่สุด เพราะเหมือนเราเอาแผ่นริบบิ้นเรียบลื่นแผ่นบางเฉียบ มาต่อกับขั้วลำโพง และแอมป์โดยตรง นั่นสิ แรกเห็น อดสงสัยไม่ได้ว่า แล้วมันจะเวิร์คไหม?
สาย Silversmith Audio FIDELIUM มีความยาว 8 ฟุต หรือเกือบๆ 2.5 เมตร ต่อเส้น สีทองแดงดูมันวาววับจับตา เป็นแผ่นแบนที่ขดมาในกล่องขนาดเล็ก เท่ากล่องเครื่องประดับ แรกๆ เปิดกล่องเอาออกมาดู ยังไม่ได้พิจารณาลึกลงไป ก็จะเกิดความกังวลว่าเมื่อต่อสายแบนแบบนี้ เข้าไปในระบบ มันจะมีการช็อต เมื่อแตะกันของสายเส้นบวก เส้นลบ หรือไม่?
แต่เมื่อเพ่งพินิจดูอย่างละเอียดก็จะเห็นว่า สาย FIDELIUM นี้ มีการห่อหุ้มวัสดุที่เหมือนกับพลาสติกใสบางเอาไว้อีกชั้นหนึ่งอย่างแนบแน่น ช่วงต่อด้านปลายจะเว้าโค้ง เท่ากับขั้วแอมป์และลำโพงพอดิบพอดี ตามคำแนะนำของผู้ผลิตคือ ให้สอดและขันเข้ากับขั้วโดยไม่ผ่านการต่อด้วยบานาน่าหรืออุปกรณ์อื่นใด
ขณะที่ต่อเข้ากับขั้วลำโพงและขั้วแอมป์ ผมนึกไปว่า เหมือนเรากำลังต่อแผ่นทองแบนเรียบ ที่ช่างทองเขารีดเป็นแผ่นมาให้ ใช้ต่อกับเครื่องเสียงและลำโพง
ใครเห็นครั้งแรก คงคิดไม่ถึงว่านี่คือ “สายลำโพง”
ส่วนต่อสายลำโพงแล้วก็ปล่อยให้สายนั้น วางเรียบไปกับพื้นพรม หรือพื้นห้องตามปกติได้ เพียงแต่อย่าให้ขดเป็นวง
ส่วนการเก็บสาย ลงในกล่องนั้น สามารถม้วนเป็นวงกลมลงในกล่อง ขนาด 13x14.5 เซนติเมตร อย่างสบายๆ คือแรกเห็นกล่องสายลำโพงที่ Msound ส่งมาทดสอบ ผมนึกว่าเขาส่งนาฬิกาข้อมือ มาให้เสียอีก…
เป็นสายลำโพงที่นอกจากน่าทึ่งในรูปทรงพิสดารแล้ว เสียงที่ได้จากสายลำโพงชุดนี้ต้องบอกว่าน่าทึ่งไปยิ่งกว่านั้นครับ
นั่นก็คือ Silversmith Audio FIDELIUM ให้ความเปิดกว้างของเวทีดนตรีอย่างชนิดที่เราอุปมาอุปไมยว่า “สุดลูกหูลูกตา” ก็ว่าได้ จุดที่สัมผัสรับรู้คือส่งผลให้ลำโพงนั้น แผ่เสียงกว้างออกไปเลยจุดตำแหน่งที่วางอย่างน่าทึ่งมากๆ
ย่านความถี่เสียงทุกย่านได้แสดงผลออกมาอย่างครบถ้วน โดยเฉพาะช่วงเสียงเบสลึกอิ่มแน่น ทำได้ดี ให้อิมเมจจุดตำแหน่งดนตรีแม่นสุดๆ เสียงร้องและเสียงดนตรี ชัดเจนสดใส มีความกังวานหวานพลิ้วของเสียงละเมียดละมัย ต้องบอกว่า “วิเศษมาก”
ในแง่บุคลิกมีความเป็นกลางสูง ไม่ทำให้ซิสเต็มเราเปลี่ยนแปลงคุณลักษณะดั้งเดิมไป เมื่อใช้สายลำโพง Silversmith Audio FIDELIUM ส่วนที่ดีงามคือ เราสามารถเข้าถึงดนตรีได้มากขึ้น ทุกเสียง ทุกชิ้นดนตรี เหมือนถูกปลดปล่อยออกมาได้ทั้งหมด ไม่มีอะไรที่เป็นม่านหมอกมัวมนเลยแม้แต่น้อยครับ
จุดที่ถือว่า Silversmith Audio FIDELIUM มีความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว คือ ให้ “ความสะอาด” ของเสียงได้อย่างยอดเยี่ยมมากครับ แค่เพียงนั่งลง แล้วทดลองฟังเพลงผ่านไปไม่กี่เพลง คุณก็จะสามารถรับรู้ความสะอาดแห่งเสียงนี้ได้อย่างเต็มที่ ชนิดที่ไม่เคยสัมผัสจากสายแบบใดมาก่อน
สายลำโพงแบนบางเพียงชุดเดียวของ Silversmith Audio FIDELIUM นี้ จะสร้างประสบการณ์ใหม่ล่าสุด ท้าทายนักฟังทุกระดับ สายลำโพงที่ทำให้เครื่องเสียงของคุณทั้งซิสเต็มนั้นถูกยกระดับ อัพเกรด อิมเมจ เวทีเสียง และความสะอาด รวมไปถึงรายละเอียดและความพลิ้วไหวของเสียงเพิ่มขึ้นอย่างน่าประทับใจ
ที่สำคัญ ราคาแห่งความเปิดกว้าง กระจ่าง สะอาด เต็มไปด้วยรายละเอียดพลิ้วไหวของ Silversmith Audio FIDELIUM เพียงชุดละ 45,000.- บาท เท่านั้นเองครับ ความน่าทึ่ง พิสดาร แต่ให้เสียงเต็มอิ่มงดงาม และน่าลิ้มลองเป็นที่สุดครับ
สายลำโพง Silversmith Audio FIDELIUM จำหน่ายขายดีอย่างเงียบๆ มาระยะหนึ่งแล้วเรียกว่าหมดสต็อกอย่างรวดเร็ว เห็นว่าล็อตใหม่เพิ่งเข้ามา ถ้าอย่างไรก็สอบถามจากผู้นำเข้าสินค้าเป็นการส่วนตัวได้เลยครับ
Rogers ผู้เริ่มต้นกำเนิด ลำโพงมอนิเตอร์ BBC LS3/5a โดย อ.วิจิตร บุญชู
สำหรับนักเล่นเครื่องเสียงรุ่นเก๋าจุดสูงสุดของเล่นคงหนีไม่พ้นเครื่องเล่นแผ่นเสียง เหมือนสูงสุดของแอมป์ต้องเป็นแอมป์หลอด single ended
ถ้าเราเห็น system ของนักเล่นมี turntable และมีแผ่นวางโชว์เต็มห้องนั้นบ่งบอกได้เลยว่าเป็นนักเล่นที่มีประสบการณ์สูง(หรือเป็นนักฟังตัวยง)
ทำไมต้องเล่นแผ่นเสียง(turntable )
1 ไม่มีตกยุค เวลาจะผ่านไปนานแค่ไหนหน้าตาเครื่องเล่นแผ่นเสียงรวมถึงแผ่นหน้าตายังคงเป็นเอกลักษณ์ ประกอบด้วยด้วย แท่น มอเตอร์ อาร์ม หัวเข็ม
2 เทคโนโลยีไม่สามารถเปลี่ยนแปลง turntable ได้ ปัจจุบันเครื่องเล่นแผ่นยังไม่มีรีโมทหรือเลือกเพลงได้ยังคงความอนาล็อก
3 จุดสูงสุดของการเล่นก็ยังหนีไม่พ้นแผ่นเสียง ไม่ว่าการเล่นอย่างอื่นจะพัฒนาไปไกลแค่ไหนนักฟังเพลงตัวจริงยังหลงไหลความเป็นอนาล็อกของแผ่นเสียง
4 เป็นศิลปะในการเล่นเครื่องเสียงอย่างแท้จริง turntable ต้องมีทักษะในการปรับจูนตามสเปคของอาร์มและหัวเข็ม หรือเลือกความแม็ตซิ่ง เพื่อให้ได้คุณภาพสูงสุด
5 คลาสสิค จะกี่ยุค กี่สมัย turntable และแผ่นเสียงก็ยังเป็นโต๊ะหมุนไม่มีวันเปลี่ยน
6 เป็นของสะสม (แผ่นเสียง) สามารถสะสมเป็นคอลเลคชั่นของความชอบส่วนตัว และแผ่นเสียงนับวันราคาทวีคูณเพิ่มมูลค่า (ไม่มีลง)
7 สิ่งที่ขาดไม่ได้เลยคือ คุณภาพเสียงเป็นเอกลักษณ์น่าหลงใหล ไม่มีเทคโนโลยีไดในปัจจุบันรอกเรียนแบบได้ ไม่สามารถเอาแผ่นมาบันทึกซ้ำได้.
ถ้ามองว่ามีอุปกรณ์อะไรที่เทียบเครื่องเสียงเครื่องเล่นแผ่นได้คงมองเห็นแต่เทปรีลเท่านั้น ปัญหาของเทปรีลก็มีอยู่มาก การเก็บต้องเลือกอุณหภูมิ และมีการสึกหลอง่ายจึงไม่เป็นที่นิยมในตลาด
ปัจจุบันความเป็นอนาล็อกสูงสุดคงหนีไม่พ้นเครื่องเล่นแผ่นเสียง และจะยังคงเป็นที่ยอมรับในกลุ่มนัก high end ระดับบนตลอดไป
Rogers มีความเก่าแก่ถึง 74 ปี และมีการซื้อและขายหลายครั้งในช่วงหลายปีที่ผ่านมา วันนี้ ลำโพง Rogers ได้ถูกผลิตขึ้นในสหราชอาณาจักร (อังกฤษ) ภายใต้การดูแลของ Andy Whittle ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้เชี่ยวชาญระดับแนวหน้าในการพัฒนา LS3/5a Andy ทำงานให้กับบริษัทหลายแห่งในช่วงหลายปีที่ผ่านมา รวมถึง Audio Note UK, Celestion, Mordaunt-Short และ Exposure.
จุดเด่นของ Nottingham
1 อาร์มบอร์ดปรับระดับได้ สามารถรองรับอาร์มตั้งแต่ 9-12 นิ้ว
(สำหรับประเทศไทยเราจะสั่งอ๊อฟท็อปเป็นอาร์ม 12 นิ้ว)ยกเว้นรุ่น horizon และ interspace jr จะใส่อาร์ม interspace 10นิ้วมาทั้งคู่
2 arm Nottingham เป็นประเภท unipovot ส่วนประกอบของอาร์มอะลูมินัมขึ้นรูป และคาร์บอนไฟเบอร์น้ำหนักเบา เพื่อให้ได้ความมีอิสระสูงสุด
3 ตุ้มถ่วงน้ำหนัก (anti skate) ห้อยต่ำเพื่อลดจุดศูนย์ถ่วงของอาร์ม เพิ่มเสถียรภาพในการเกาะร่อง
4 มีสายสัญญาณคุณภาพสูงจากท้ายอาร์มมาให้ด้วย (อันนี้ก็เป็นสิ่งสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม) เนื่องจากสัญญาณจากหัวเข็ม เป็นสัญญาณที่อ่อนมาก มีความอ่อนไหวต่อการกวนได้ง่าย รวมถึงคุณภาพในการถ่ายทอดสัญญาณที่ดีเยี่ยม
5 ตัวแท่นเป็นระบบ non suspension ไม่ต้องวุ่นวายกับสปริง หรือกังวลว่าสปริงจะล้าจะเอียงแต่ได เพราะไม่มีสปริงนั้นเอง
6 ใช้ตัวแท่นรับแรงสั่นสะเทือน และ Bearing (ระบบลูกปืน)คุณภาพสูงเพื่อลดแรงเสียดทานระยะยาว พร้อมรองรับแพลตเตอร์ที่มีขนาดใหญ่และหนัก
7 แพลตเตอร์ขนาดใหญ่ ทำจากอัลลอยขึ้นรูป
***หมายเหตุ***แต่ระรุ่นของ Nottingham น้ำหนักของแพลตเตอร์จะต่างกันถึงแม้จะมีขนาดเท่ากัน อย่างเช่นรุ่น hyperspace และ dais/analoge ทั้งสามรุ่นนี้มีขนาดเท่ากันมองจากสายตา แต่แพลตเตอร์ของ dais และ analoge หนักกว่า hyperspace ถึงเท่าตัว
นั้นหมายถึงความแตกต่างอย่างอื่นๆที่จะไม่เหมือนอย่างเช่น Bearing ต้องมีขนาดใหญ่ตัวกว่าเพื่อรองรับน้ำหนัก ระบบคุมรอบต้องมีความแตกต่างเพื่อความแรงเหวี่ยงกับน้ำหนักแพลตเตอร์ที่มีน้ำหนักมากขึ้นอีกเท่าตัว
แพลตขนาดเท่ากันหน้าตาเหมือนกัน ดูทุกอย่างเหมือนกันทั้งสองซีรี่ย์นี้ แตกต่างตรงที่มวลสาร(เนื้ออัลลอย)ความข้นและความหนาแน่นต่างกัน
8 ด้วยแพลตร์ที่มีขนาดใหญ่ Nottingham ยังใส่ใจระบบสั่นสะเทือนจากแพลตเตอร์หรือการกวนจากแพลตเตอร์ขึ้นไปหาแผ่นเสียงด้วย Damping rings ที่รัดอยู่รอบแพลตเตอร์พร้อมด้วย mat กราไฟต์ที่ทาง Nottingham เขาอยากจะจับยัดใส่มาให้ทุกรุ่น แต่ก็ไม่สามารถทำได้เนื่องจาก mat กราไฟต์เพิ่มต้นทุนและเวลาในการผลิตค่อนข้างสูง จึงเลือกใส่ในรุ่นระดับกลางขึ้นไปส่วนรุ่น spacedeck / ace spacedeck/294 ที่ไม่มีมาให้ ท่านใดจะสั่งเพิ่มภายหลังก็ยังได้
คุณสมบัติของ mat กราไฟต์ สามารถลดไฟฟ้าสถิต และสร้างความเป็น 3มิติให้กับเวทีเสียง ลดอาการขุ่นมัว เพิ่มฮาโมนิกมำให้มีความกังวาน ได้ยินบรรยากาศเล็กๆน้อยๆมากขึ้น
9 และสิ่งที่ขาดไปไม่ได้เลย คือ มอเตอร์รอบฉุดต่ำ ถือว่าเป็นมอเตอร์ที่เดินเบาและนิ่งมาก หน้าที่ของมอเตอร์มีหน้าที่เพียงประคองรอบเท่านั้น มอเตอร์ Nottingham ลดการกวนและแรงสั่นสะเทือนไม่พึงประสงค์ออกไปได้มาก ผลที่ได้รับจากการจูนแท่นมาทั้งหมดและการเลือกวัสดุ การผลิดที่ยึดถืออุดมการณ์มายาวนาน 40 กว่าปี Nottingham ก็ยังภูมิใจกับระบบมอเตอร์รอบเดินเบาของเขา ที่ช่วยลดแรงเสียดทาน แรงเหวี่ยง แรงสั่นสะเทือน ทำให้ลดความเพี้ยนจากตัวแท่นของ Nottingham
รีวิว โดย อ.วิจิตร บุญชู
MOONRIVER AUDIO MODEL 404
คุณค่าแห่งเสียงดนตรีที่งดงาม
นับเป็นการเปิดโฉมใหม่ ของอินทิเกรเต็ดแอมปลิไฟร์ ที่สร้างกระแสความนิยมอย่างรวดเร็วเป็นอย่างมาก เปิดทางเลือกสำหรับผู้แสวงหา “เสียงดนตรีอันละเมียดละไม” โดยลืมคำจำกัดความว่า หลอด ทรานซิสเตอร์ คลาส A คลาส AB คลาสดิจิตอล ไปได้ทั้งหมด นี่คือแอมป์ จากสวีเดน ที่พลิกโฉมหน้าแอมปลิไฟร์ในยุคนี้
MOONRIVER AUDIO แรงบันดาลใจจากเพลงประกอบ Moon River ที่สวยงาม ในภาพยนตร์คลาสสิก ที่คนยุคระบบไฮไฟรุ่งเรืองย่อมจดจำได้ ถึงภาพดรุณีสาวสวย ออดรีย์ เฮปเบิร์น กับบทบาทในหนังโรแมนติค Breakfast at Tiffany's (นงเยาว์นิวยอร์ก) สร้างจากนวนิยายของทรูแมน คาโพตี
ในภาพยนตร์ มีเพลง Moon River บรรเลง เป็นแบ็คกราวนด์ประกอบตลอดเรื่อง นั่น คือความงดงามที่นักออกแบบเครื่องเสียงสวีเดน นำใช้เป็นขื่อแบรนด์เครื่องเสียงที่เขาดีไซน์อย่างทุ่มเทหมดหัวใจ
MOONRIVER AUDIO MODEL 404
เป็นผลงานของการวิจัยค้นคว้ายาวนานถึง 3 ปีเต็ม โดยตั้งเป้าหมายเน้นที่ประสิทธิภาพระดับสุดยอด โดยไม่ให้ราคาเป็นข้อจำกัด ผลลัพธ์ก็คือ แอมปลิไฟเออร์ 404 ซึ่งจะเปิดเผยทุกความงดงามของเสียงดนตรี และสามารถแจกแจงชิ้นดนตรีอย่างหมดจดไม่ว่าจะรูปแบบใด
เพียงคุณมีแหล่งโปรแกรม ลำโพงที่ดีๆ และสภาพห้องฟังที่เหมาะสม MODEL 404 จึงถูกออกแบบสำหรับดนตรีทุกประเภทอย่างไร้ข้อจำกัด หัวใจของผลิตภัณฑ์คือ ให้เสียงที่แม่นยำและเที่ยงตรงอย่างที่สุด แม้ในรายละเอียดเล็กน้อยของทุกตัวโน้ต
MODEL 404 มีภาคจ่ายไฟขนาดใหญ่เพื่อให้มั่นใจว่า จะมีกระแสไฟที่สม่ำเสมอ และเพียงพอสำหรับทุกการจ่ายพลังงาน
ภาคปรีแอมป์ถูกแยกส่วนเป็นอิสระรองรับการสะวิงของไดนามิคอย่างฉับพลัน ขณะที่ส่วนภาคขับกำลัง High output stage ก็ถูกออกแบบให้มีแบนด์วิธกว้าง และลดการผิดเพี้ยน เพื่อเสียงที่แม่นยำและความเที่ยงตรงของเสียงดนตรี
ทำการคัดเลือกอุปกรณ์ภายในอย่างเข้มงวด เพื่อรับประกันว่า จะไม่เกิดการเบี่ยงเบนของโทนเสียง ขจัดการรบกวนและวงจรที่ลดความซับซ้อน เพื่อให้ได้เสียงที่เป็นธรรมชาติที่สุด มีอินพุตเป็นภาคไลน์ทั้งหมด
แต่ยิ่งไปกว่านั้น แอมป์ยังออกแบบเพื่อให้พร้อมต่อการตอบรับกับอินพุตสำหรับภาคโฟโน, USB DAC ที่ทาง MOONRIVER AUDIO มีออพชั่นจำหน่ายแยกส่วน ที่คุณซื้อเพิ่มเติมได้
มีปรีแอมป์ Output 2 ชุด และมี Tape monitor loop เพื่อขยายฟังก์ชั่นการใช้งานให้เป็นอินทิเกรเต็ด แอมปลิไฟเออร์ ที่คล่องตัวโดยสมบูรณ์แบบ
งานอออกแบบและหลักสรีรศาสตร์
เรามีเป้าหมายที่ชัดเจนเมื่อเริ่มออกแบบแอมปลิไฟเออร์ MOONRIVER MODEL 404 นั่นคือ ให้มีรูปลักษณ์แบบคลาสสิก ด้วยกลิ่นอายของความทันสมัย ใช้วัสดุคุณภาพสูง เช่น ปุ่มลูกบิดอะลูมิเนียมขนาดใหญ่ เดินขอบด้วยไม้วอลนัต ตัวเครื่องหนักแน่นบึกบึน และแผงหน้าปัทม์ที่คำนึงถึงหลักของสรีระในการใช้งาน
ตัวเครื่องไม่มีการตกแต่งเกินจำเป็น ไม่มีจอภาพ Display ที่เต็มไปด้วยเมนูและฟังก์ชั่นที่ต้องค้นหา ไม่มีปุ่มแบบมัลติฟังก์ชั่นที่ตั้งใจแสดงความเป็น Minimalist ดังนั้นหัวใจของโมเดล 404 จึงเป็นความตรงไปตรงมา มีปุ่มเท่าที่จำเป็น แต่ออกแบบให้ใช้งานคล่องตัวเข้าใจง่ายในเสี้ยววินาที โดยแทบไม่ต้องอาศัยคู่มือ
มีปุ่มหมุน 4 ปุ่ม และสวิตช์ 3 ตัว แต่เพียงพอต่อการใช้งานครบทุกฟังก์ชั่น
สถาปัตยกรรมแบบโมดูล่าร์
แอมปลิไฟเออร์ MOONRIVER MODEL 404 วางผังในเครื่องแบบ ”โมดูล” จึงมีพื้นที่สำหรับชุด Phono stage แบบ MM หรือ MM/MC และชุด USB asynchronous DAC โดยการติดตั้งชุดโมดูลที่ว่าจึงง่ายและสะดวก สามารถทำได้ตลอดเวลา (เสริมออพชั่น โดยสั่งจากตัวแทนจำหน่ายได้)
พิเคราะห์ ความพิเศษของ MODEL 404
การใช้งาน Balance Control
คุณจะพบว่าคุณสมบัติข้อนี้แทบจะหายไปโดยสิ้นเชิงในผลิตภัณฑ์ออดิโอไฟล์ จากแนวคิดการออกแบบ Minimalist ในปัจจุบัน อย่างไรก็ตามการใช้งาน Balance Control ในเมื่อต้องพบกับปัญหาพื้นๆ เช่นการวางลำโพงแบบไม่สมมาตรในสภาพห้องที่ไม่อำนวย มันจึงต้องการปรับแก้แบบง่ายๆ เพื่อให้ได้เวทีเสียงที่เหมาะสม
ลักษณะของห้องฟัง และเฟอร์นิเจอร์ที่ใช้อยู่ในชีวิตประจำวัน อาจจะไม่เอื้อต่อการให้บรรยากาศการฟังที่ดีที่สุด หรือแม้แต่จะวางลำโพงให้มีระยะห่างกัน จึงไม่แปลกที่ลำโพงตัวหนึ่งอาจวางชิดผนัง ขณะที่อีกตัววางห่างจากผนัง และทำให้ความถี่กระจายตัวแบบไม่สม่ำเสมอ
ดังนั้นการมี Balance Control จะช่วยแก้ปัญหาโดยปรับระดับความดัง (ที่ไม่แน่นอน) และบางกรณีก็ช่วยปรับเสียงสเตอริโอ และเวทีเสียงให้ดีขึ้น และที่แน่นอนคือ การที่แอมปลิไฟเออร์ MOONRIVER MODEL 404 มี Balance Control ให้ใช้งาน ย่อมไม่ลดทอนหรือมีผลต่อคุณภาพของสัญญาณเสียงใดๆ
ส่องดูรายละเอียดโดยรวมของ MODEL 404
เป็นอินทิเกรเต็ดที่มีภาค Power Supply แยกกันถึง 5 ชุด และในแต่ละชุดมี Overload Protection ในส่วนเพาเวอร์แอมปลิไฟเออร์เป็นแบบแยกอิสระ Dual mono โดยแยก Toroidal Transformer เป็นขดลวดคนละชุด
Signal Switches ล้วนถูกใช้งานผ่านตัว Relays โดยเฉพาะชุดปรับระดับเสียงเป็นอุปกรณ์ระดับตำนานคือ Blue ALPS pot
วงจร Soft Strat ทำงานผ่านตัว Relay ขนาด 30A เพื่อให้มั่นใจว่า แม้จะใช้งานสวิตช์ เปิด-ปิด ซ้ำกันนานนับสิบปี เครื่องก็ยังจะทำงานอย่างไร้ข้อขัดข้องใดๆ การคัดเลือกอุปกรณ์ทุกชิ้นทำอย่างพิถีพิถัน ทั้งแง่คุณภาพและความทนทาน
และสำหรับวงจรอนาล็อก ทีมงานเลือกที่จะไม่ใช้แบบ Surface-mount แต่กลับเลือกเทคโนโลยี Through-hole ที่ต้นทุนสูงกว่า เนื่องจากมีความซับซ้อนและให้ประสิทธิภาพเหนือกว่านั่นเอง
การเลือกใช้ชิ้นส่วนต่างๆ เป็นไปอย่างเข้มงวด เพื่อให้คงทนต่อการใช้งาน และคงประสิทธิภาพสูงเยี่ยมเสมอทุกขั้นตอน ก่อนจะแปลงเป็นสัญญาณอนาล็อก
MODEL 404 จะให้เสียงที่เที่ยงแท้แน่นอน หรือมีบุคลิกที่ให้ความไพเราะเสมอ ความตั้งใจของทีมผู้ออกแบบคือ ถ่ายทอดทุกเสียงให้ประทับใจ และถือความพอใจของผู้ฟังเป็นเรื่องสำคัญที่สุด
MOONRIVER AUDIO ให้ความพยายามอย่างเต็มที่เพื่อบรรลุคุณภาพระดับสูงสุด มีเรื่องค่อนข้างแปลก สำหรับผู้เล่นเครื่องเสียงอยู่ประการหนึ่งคือ ทำไม MOONRIVER AUDIO มีฟังก์ชั่น Tape Monitor และ สวิตช์ Stereo/Mono มาด้วย?
ความสำคัญของ Tape Monitor Loop นี้ ผู้ผลิตเครื่องเสียงส่วนใหญ่ในปัจจุบันแทบไม่มีรายใดออกแบบผลิตภัณฑ์ให้รองรับ Tape Loop เลย
สำหรับ MOONRIVER AUDIO กลับคิดว่า Tape Monitor Loop มีความสำคัญยิ่ง ไม่เพียงเพิ่มทางเลือกสำหรับ Monitor ความแตกต่างระหว่างเสียงที่บันทึก กับเสียงจากแหล่งโปรแกรมเท่านั้น
แต่ที่สำคัญกว่านั้นคือ ผู้ใช้งานสามารถเชื่อมต่อกับชิปประมวลผล สำหรับแก้ไขอะคูสติกของห้อง ไม่ว่าจะเป็นแบบดิจิตอลหรืออนาล็อก เพิ่ม Buffer หรือระบบขจัดเสียงรบกวน หรืออุปกรณ์อื่นใดที่ช่วยปรับปรุงให้คุณภาพเสียงดีขึ้น
สวิตช์ Stereo/Mono นี้ ก็ด้วยความคิดมีเหตุผล รอบคอบอย่างยิ่ง ในยุคสมัยอันงดงามของการบันทึกเสียงแบบอนาล็อกผ่านมานานแล้ว คุณลักษณะของสวิตช์ Stereo/Mono ก็พลอยตกยุคไปด้วย ใครจะสนใจแชนแนลเดียวในเมื่อยุคของสองแชนแนล ถึง “Less is more” (น้อยคือมาก)
แต่ “More is better” (มากกว่าย่อมดีกว่า) อย่างไรก็ตาม ยุคนี้แผ่นเสียงไวนีลกลับมาเป็นที่นิยมอีกครั้ง ไม่ว่าจะเป็นแฟชั่น หรือเป็นความนิยมของผู้คนอย่างแท้จริงก็ตาม แต่กลับมีการออกแผ่นเสียงแบบ Monaural จำนวนไม่น้อย อีกทั้งยังเคลมว่า ให้เสียงแบบไฮเอ็นด์ ออดิโอไฟล์อย่างแท้จริง
มีแผ่นแบบนี้จำนวนมาก และกลายเป็นที่ต้องการของนักสะสม รวมถึงแผ่น 78 rpm direct-cut ที่ขึ้นชื่อในอดีตก็ไม่ยกเว้น
อันที่จริงเรื่องนี้ก็ใช่ว่าจะไร้เหตุผล เพราะมีผู้กล่าวว่าในช่วงทศวรรษ 1930 จนถึง 1980 การตีความบทเพลง และเทคนิคการบันทึกเสียงในยุคนั้นสามารถให้ “ความเป็นดนตรี” ที่งดงามที่สุด ถึงคำกล่าวที่ว่านี้ อาจจะไม่ยุติธรรมกับเทคโนโลยีการสร้างสรรค์ และการบันทึกเสียงดิจิตอลที่ล้ำหน้าในปัจจุบัน
แต่สวิตช์ Stereo/Mono ก็เปิดโอกาสให้ท่านได้สัมผัสกับศิลปะการบันทึกอันเป็นหมุดหมายสำคัญในอดีต ไม่ว่าจะเป็นเสียงโมโนแท้ๆ หรือสองแชนแนล
ซึ่งแตกต่างจากการคลาดเคลื่อนที่เกิดจากความพยายามเป็นสเตอริโอในบางกรณีถึงแม้ “น้อย” อาจจะหมายถึง “มาก” แต่การมีทางเลือกย่อมจะดีกว่า
และออดิโอไฟล์ชั้นเทพ จะใช้ปุ่ม Stereo/Mono สำหรับตรวจสอบเฟสเสียงแชนแนลซ้ายขวาได้อีกด้วย (สนใจว่าวิธีการฟัง แบบตรวจสอบเฟสนี้ ว่าทำกันเช่นไร สอบถามในรายการLive ทุกวันเสาร์ทางเพจ https://www.facebook.com/wijit.thewave ได้เลยครับ)
สำหรับ MODEL 404 จะมีรุ่นมาตรฐาน ที่เรานำมา Test Report นี้ และยังมีรุ่น Reference ที่เสริมศักยภาพสูงสุดในแอมป์ซีรีส์นี้ ให้ก้าวขึ้นสู่เสียงระดับ ซูเปอร์ไฮเอ็นด์ ที่เราคงจะมีโอกาสทดสอบ ในลำดับถัดไปครับ
Test Report
การทดสอบใช้ลำโพง 3 คู่ เป็นเรฟเฟอร์เร้นซ์ คือ KEF BBC Monitor LS3/5A, Harbeth P3 ESR 40th Anniversary และ Harbeth Monitor 30.2 40th Anniversary เครื่องเล่น SACD รุ่น Top ของ Denon DCD 2500ne ภาคปรีโฟโน Sugden PA4 เครื่องเล่นแผ่นเสียง Linn LP12 อาร์ม Linn AKITO หัวเข็ม Linn Adikt สายลำโพง TQ Ultra Black สายต่อ TQ Black RCA
บทสรุปของน้ำเสียง บุคลิก นับว่าน่าประทับใจเป็นที่สุด นับตั้งแต่เริ่มเปิดฟัง โดยไม่ต้องเสียเวลา เบิร์นอินใดๆ ผ่านพ้น 2-3 ชั่วโมงไปแล้ว กระแสเสียงของมันทำให้เราไม่อาจผละจากเสียงที่ได้ยินเลยแม้แต่น้อย นั่งฟังกันยาวไปถึง 6- 7 ชั่วโมงอย่างมีความสุข
มีอินทิเกรเต็ดน้อยเครื่องเหลือเกิน ที่สามารถดึงดูดใจนับตั้งแต่แรกเปิดใช้งาน และทำให้เรามีความสุขกับทุกบทเพลงทุกอัลบั้ม น่าแปลกใจ ที่เสียง MOONRIVER AUDIO MODEL 404 เพียงเริ่มฟังก็จะสัมผัสบุคลิกภาพที่น่าค้นหา อย่างไม่สิ้นสุดครับ
คุณภาพและบุคลิกเสียง เป็นแบบละเมียด มีความโรแมนติกที่ปลายหางเสียง ย่านความถี่ต่ำสวยงามอิ่มเอม และราบรื่นสะอาดน่าฟัง
แถมมีพลังซ่อนเร้นอย่างเหลือเชื่อ ระบุสเป็คไว้แค่ 50 วัตต์ แต่อัตราสะวิงดีมาก เหมือนฟังแอมป์ 120 วัตต์ ชั้นดี ตรงนี้ต้องยกให้วิธีการออกแบบภาคจ่ายไฟจริงๆ ครับ
ผมพิสูจน์จากอัลบั้ม ทดสอบเสียงที่โปรดปรานที่สุด คือ Erich Kunzel, Cincinnati Pops Orchestra - Ein Straussfest : Telarc
เน้นที่เพลง On the Beautiful Blue Danube Waltz, Op. 314 แอมป์ MODEL 404 สามารถส่งผ่านพลังที่เต็มเปี่ยมของดนตรีคลาสสิก ถ่ายทอดหลากอารมณ์ อ่อนไหว ราบรื่น เร้าใจ กระชับ และสะวิงขึ้นลงอย่างสวยงาม
ช่างน่าพิศวงจริงๆ ครับ กับพลังเสียงที่ซ่อนเร้น
ให้ความสวยงามกับเพลงร้อง Pop, Jazz, Country ทำให้เราไม่อยากลุกออกไปจากสถานที่นั่งฟังแม้แต่เสี้ยววินาที เป็นไม่กี่ครั้งหรอกครับที่ทดสอบแอมป์ระดับนี้แล้ว รู้สึกติดหนึบ อยู่กับที่เช่นนี้ ฟังนักร้องโปรดอย่าง เคนนี โรเจอส์ ร้องคู่ Islands In the Stream โอว.. หวานละมุนและเร้าใจ
หรือกระแสเสียงของ แผ่นซีดี สังกัด Three Blind Mice หลายอัลบั้ม รวมถึงชุดโปรด Ayako Hosokawa - To Mr. Wonderful ที่ชวนฟัง ซ้ำแล้ว ซ้ำอีก นี่คืออินทิเกรเต็ดเครื่องหนึ่งในรอบปี ที่ฟังเพลงได้แบบค้นคว้าอย่างกระหายไม่รู้เบื่อ
ช่วงสุดท้ายที่ฟังกับแผ่นไวนีล ผ่านมาทาง Sugden PA4 ยิ่งส่งผ่านเสน่ห์ของภาคขยาย อย่างร้ายกาจ เข้าถึงความเป็นอนาล็อกที่มีเนื้อเสียงอันอุ่นหวาน “สง่างาม” ยิ่งนัก
เสียงดีๆ ครบถ้วนแบบนี้ ผมพบเจอแอมป์ไม่กี่เครื่องที่เสียงดึงดูดใจขนาดนี้ครับ
คือ ถ้าคุณเคยชื่นชอบความไหลลื่นแนบเนียนของแอมป์คลาส A ชอบปลายเสียงฉ่ำแบบหลอดสุญญากาศ ความทรงพลังแบบคลาส AB แล้วละก็ รูปแบบการขยายเสียงของ MOONRIVER AUDIO MODEL 404 เป็นการดึงเอาข้อดีทั้งหมดนั้นมาอยู่ครบถ้วนในเครื่องเดียว และโดดเด่นตรงที่มีความโอ่อ่า สว่าง กว้างล้ำลึกน่าประทับใจจริงๆ!
ถ้าสรุปถึงน้ำเสียง ผมอยากเปรียบเปรยว่าเป็นแอมป์เสียงโรแมนติก ประดุจ “ราตรีประดับดาว” มีเสน่ห์ลึกลับน่าค้นหา ยิ่งฟังยิ่งมีอะไรดีๆ เพิ่มขึ้นทุกขณะจิต นับเป็นภาคขยายที่เราฟังแล้วต้องชื่นชมว่า ด้วยงบประมาณ 140,000 บาท อินทิเกรเต็ด MODEL 404 จะเป็นตัวเลือกที่ดีที่สุด สำหรับนักฟังผู้พิถีพิถันจริงๆ ครับ
ถ้าคุณเป็นนักฟังคนหนึ่งที่ต้องการเป็นเจ้าของคุณภาพเสียงแบบครบถ้วนทุกรายละเอียด และมีความทรงสง่าทุกน้ำเสียง ผมว่านะ.. คุณพลาด MOONRIVER AUDIO MODEL 404 ยากแล้วละครับงานนี้
Rogers LS5/9 Classic
มาตรฐานแห่งเสียงดนตรีจริง
โดย อ.วิจิตร บุญชู
สำหรับบททดสอบ LS5/9 Classic นี้ ผมขอเรียนว่า มีความน่าสนใจอยู่มากพอสมควรเลยทีเดียว สำหรับผู้ที่นิยมในลำโพงระดับมอนิเตอร์เสียงแม่นยำเที่ยงตรงของ BBC จะว่าไปแล้ว มันคือ ตัว LS3/5A ขยายสเกลนั่นเอง ทำให้ได้พลังเสียงที่เพิ่มขึ้นอย่างน้อย 2 เท่าตัว ทั้งความดังและขยายความถี่ต่ำที่ลึก และมีมิติมากขึ้น
ผมเคยใช้งาน Rogers LS5/9 รุ่นดั้งเดิมที่ผลิตในอังกฤษ ที่มีการนำไปใช้งานจริงในสตูดิโอ รวมถึงทาง Rogers ก็ได้วางจำหน่ายอย่างเป็นทางการในตลาดออดิโอไฟล์ด้วย ถือว่าเป็นอีกโมเดลหนึ่งที่ได้รับความนิยมอย่างมาก หากพูดถึงรหัส LS3/5A แล้ว จะต้องมีการเสริมเรื่อง LS5/9 เคียงคู่กันเสมอ
LS5/9 นั้น เป็น “มาสเตอร์ต้นแบบ” ที่มีการนำเอาไปพัฒนาต่อหลายเวอร์ชั่น หรือเป็นรูปทรงต้นแบบสำหรับลำโพงสองทางมาตรฐานที่ประสบผลสำเร็จในตลาดหลายโมเดล เลยทีเดียว
หากย้อนกลับไปดูประวัติศาสตร์กันสักเล็กน้อย ก็จะพบว่า BBC มีการค้นคว้าวิจัยพัฒนาออกแบบ ลำโพงมอนิเตอร์ขนาดกลาง รุ่น LS4/ มาก่อน แต่ไม่ได้ให้ผลที่น่าพึงพอใจ จึงทำการพัฒนา รุ่น LS5 ขึ้นมาแทนที่ และได้ยกเลิกลำโพง รหัส LS4/ ทั้งหมด รวมถึง รุ่น LS3/ บางรุ่นด้วย
ช่วงปี 1964-1974 บีบีซีนำเสนอลำโพงมอนิเตอร์ LS5/1 และ 5/1A ขึ้นมานั้น เป็นนำเอาลำโพง LS3/1 มาขยายสเกล ให้มีขนาดตู้ใหญ่ขึ้น และทำการดับเบิ้ลตัวทวีตเตอร์ถึงสองตัวให้อยู่เหนือวูฟเฟอร์ หน้าตาดูแปลกๆ ไม่เหมือนลำโพงทั่วไป และยังมีการออกแบบรุ่น LS5/2 และ 5/2A ซึ่งก็คือทำการดัดแปลงเอา 5/1 นำไปใช้แขวนผนัง สำหรับงานห้องส่งสัญญาณแพร่ภาพและเสียงโทรทัศน์ของบีบีซี
ช่วงเวลานั้นบีบีซีเอง ออกแบบลำโพงออกมามากมายสำหรับการใช้งาน ในและนอกสตูดิโอ โดยเฉพาะความต้องการลำโพงที่มีระดับ SPL ได้เกิน 100 เดซิเบล มีเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ลำโพงในรหัส LS5 แบบแอคทีฟ ที่มีขนาดตู้ใหญ่ที่สุดในขณะนั้น น่าจะเป็น LS5/5 ซึ่งใช้สำหรับในสตูดิโอ โดยผิวตู้จะพ่นเคลือบสีเทา และมีวูฟเฟอร์แบบกรวยเบ็กซ์ทรีน ขนาด 12 นิ้ว ใช้มิดเรนจ์กรวย ขนาด 8 นิ้ว ดีไซน์รูปแบบที่มีแผงปิดด้านหน้า ซึ่งจะเห็นตัวกรวยลำโพงโผล่ออกมาทางช่องสี่เหลี่ยมตรงกลาง
ส่วนตัวทวีตเตอร์จะเลือกใช้ Celestion HF1400 ดีไซน์ของ LS5/5 มาพร้อมอีควอไลเซอร์ แอมปลิไฟร์ รุ่น Quad 50D ที่ทาง Quad ออกแบบผลิตให้ใช้ควบคู่กัน
ส่วนการเรียงลำดับรุ่นของลำโพง โมเดล BBC5/ นั้น อาจจะไม่เรียงลำดับในการใช้งานจริง อาทิรุ่น LS5/5 ก็จะเป็นลำโพงหลักในสตูดิโอ ซึ่งต่อมามีการปรับเป็นรุ่น LS5/6 เพื่อใช้กับห้องส่งสัญญาณโทรทัศน์อีกต่างหาก
ต่อมามีการดีไซน์ รุ่น 5/8 ที่เป็นลำโพงมอนิเตอร์ขนาดใหญ่พิเศษ เพื่อนำมาใช้ทดแทน ลำโพงรุ่น LS5/1 และ LS5/5 ลำโพงดังกล่าวนี้ เน้นการใช้งานแบบแอคทีฟ กับแอมป์ของ Quad 405 ซึ่งโมเดล 5/8 จะใช้วูฟเฟอร์กรวยโพลีโพรไพลีน ของ Rogers ขนาด 12 นิ้ว และ ทวีตเตอร์ เป็นของ Audax HD13D34H
ในที่สุดมีการออกแบบลำโพงขึ้นมาอีกรุ่นหนึ่ง เพื่อจะใช้แทน รุ่น LS5/8 เพราะเจ้า 5/8 นั้นมีขนาดใหญ่ไปสำหรับสตูดิโอบางขนาดของทางห้องส่ง และสตูดิโอบันทึกเสียงของบีบีซี จึงทำให้มีกำเนิดของรุ่น LS5/9 ขึ้นมาในที่สุด
LS5/9 เป็นลำโพงมอนิเตอร์ขนาดกลางสำหรับสตูดิโอ ที่จะนำมาใช้ทดแทน LS5/8 อันเนื่องจากขนาดดังกล่าว และเนื่องจากทาง BBC ต้องการให้มีเนื้อเสียงแบบเดียวกัน จึงมีการดีไซน์ LS5/9 ขึ้นเป็นผลสำเร็จ ลำโพงรุ่นนี้จะสามารถให้ความดัง SPL สูงถึง 105 เดซิเบล โดยปราศจากความเบี่ยงเบนผิดเพี้ยนใดๆ และเป็นรูปแบบลำโพงมีท่อพอร์ทด้านหน้าตู้
แน่นอนว่าตัวขับเสียงต่ำนั้น ใช้กรวยโพลีโพรไพลีนของ Rogers ขนาด 8 นิ้ว รวมถึงเลือกจับคู่กับทวีตเตอร์ Audax HD13D34H
ลำโพง Rogers LS5/9 ในอดีตเคยออกมาเป็นรุ่น ไบ-ไวริ่ง ด้วย
สำหรับ Rogers LS5/9 Classic ที่นำมาผลิตขึ้นใหม่ครั้งนี้ จะเป็นการทำขั้วลำโพงแบบปลั๊กอิน แบบเดียวกันกับ Rogers LS3/5A Classic คือเน้นความลัดสั้นที่สุดของทางเดินครอสโอเวอร์ถึงตัวขับเสียง เพื่อความแม่นยำ สะอาดจริงๆ
Rogers LS5/9 Classic คือพิมพ์เดิมของลำโพงรุ่น LS 5/9 ดั้งเดิม ทั้งตัวทวีตเตอร์ และวูฟเฟอร์ โพลีโพรไพลีน ขนาด 8 นิ้ว เพียงแต่การผลิตกรวยลำโพงในปัจจุบันนั้น เทคโนโลยีของวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ มีคุณภาพสูงยิ่งขึ้น ทำให้ลำโพงกำเนิดใหม่ Rogers LS5/9 Classic นี้ ให้คุณภาพเสียงที่เปิดโปร่งชัดเจน ให้รายละเอียดและไดนามิคที่ดียิ่งกว่า
ตัวขับเสียงแม้จะใช้รูปแบบเดิมแต่ก็เป็นการพัฒนาขึ้นมาใหม่ทั้งหมด โดยมีทวีตเตอร์ Audax HD34 ขนาด 34 มม. ที่ผลิตตามแนวทางการพัฒนาเพื่อ Rogers โดยตรง วูฟเฟอร์ 210 มม. ก็ออกแบบจากพิมพ์เขียวเดิมโดยทาง Rogers เช่นกัน ทั้งตัวขับเสียงและตู้จะถูกจับคู่ด้วยมือมาจากโรงงาน อีกทั้งได้มีการลงทะเบียน บันทึกตามซีเรียลนัมเบอร์ ทุกคู่
ความน่าแปลกพิสดาร ของ Rogers LS5/9 Classic คือมีการวางแผ่นพิมพ์ วงจรขนาดเล็ก มาแปะเอาไว้บนหน้าแบบเฟิ่ล เราจะเห็นการบัดกรี เชื่อม ค่าระดับของวงจร ครอสโอเวอร์ สำหรับทวีตเตอร์ที่ ระดับ -1 ซึ่งกำหนดมาจากโรงงาน หากผู้ใช้ระดับมืออาชีพ มีความต้องการ ปรับค่า ยังมีให้เลือกไปที่ 0 และ +1 ซึ่งต้องทำการปลด และเชื่อมด้วยตัวเอง จะว่าไปแล้ว ถ้าห้องไม่อับทึบ หรือด้อยความถี่จริงๆ และไม่มีกรณีใช้งานพิเศษอะไร ก็ไม่มีความจำเป็นต้องไปยุ่งกับมันครับ (ลำโพงมอนิเตอร์สปีกเกอร์ ในแบบฉบับของอเมริกาและญี่ปุ่นมักจะนิยมใช้ ตัววอลุ่มปรับค่าในแบบ Variable)
สำหรับตัวตู้ของ LS5/9 Classic ยึดตามมาตรฐาน ของ BBC อย่างเข้มงวด ด้วยโครงตู้หลักไม้อัดเบิร์ชรัสเซีย ขนาดหนา 9 มม. ที่ดีที่สุดในช่วงข้อต่อของทุกมุมตู้ ทั้งหมดเป็นไม้เนื้อแข็ง Battened Beech Fillets แปะผิววีเนียร์ไม้จริง อีกทั้งผนังตู้แดมปิ้งด้วยแผ่นกันสั่นสะเทือน Bituminous ผ้ากระจังหน้า Tygan สีดำสวยงาม เคลือบสีวอลนัท โรสวูด และโอลีฟ ตามมาตรฐาน
Reference
Sugden IA4
Integrated Amplifier NAT Audio Single HPS v.2 Tube Integrated Amplifier
Nottingham Analogue Horizon
REGA Planet CD Player
TQ Ultra Black II
Speaker Cable
TQ Silver Diamond Interconnect
TQ Silver Diamond AC Cable
Test Report
ผมจับคู่ Rogers LS5/9 Classic ใช้งานร่วมกับขาตั้งไม้ แก่นกระพี้เขาควาย MAVIN โดยเจาะจงที่ความสูงอันเหมาะสมกับการฟังเป็นการส่วนตัวของผมเอง ที่มักจะนั่งฟังกับพื้นห้อง ไม่ใช่นั่งบนโซฟาทั่วไป ดังนั้นขาตั้งรวม Spike และจานรอง Spike ของ Cold Ray อยู่ที่ความสูง 54 เซนติเมตร
ด้วยเหตุนี้ เมื่อพิจารณาจะพบว่า ความสูงของขาตั้งจะทำให้ตัวทวีตเตอร์ จะอยู่ที่ความสูงขึ้นมาจากพื้น ที่ 82 เซนติเมตร และวูฟเฟอร์อยู่ที่ 67 เซนติเมตร (วัดจากพื้นห้องขึ้นไป) หากการฟังของท่านอื่นๆ ที่นั่งบนโซฟาตามมาตรฐาน แนะนำให้ใช้ ตัวขาตั้งรวม Spike มีความสูงประมาณ 58-60 เซนติเมตรโดยประมาณ (พิจารณาให้ทวีตเตอร์อยู่ตำแหน่งตรงกับระดับหูเป็นสำคัญครับ)
ส่วนระยะห่างระหว่างลำโพง ซ้าย ขวา วัดจากศูนย์กลางถึงศูนย์กลางของลำโพง เริ่มที่ 1.60 เมตร ระยะห่างผนังหลังควรเริ่มต้นที่ 1 เมตรเป็นพื้นฐาน ส่วนจะขยับปรับ แคบ กว้าง จูนอัพ โดยให้คำนึงเรื่องของโทนัลบาลานซ์เป็นสำคัญ!!!
สำหรับการทำการ “เผาหัว” หรือรวมชั่วโมงการเบิร์นอินลำโพง มีความน่าสนใจตรงที่ว่า ทวีตเตอร์ดูเหมือนจะเข้าที่เร็วกว่า วูฟเฟอร์ คือหลังจาก 50-60 ชั่วโมงไปแล้ว ผมว่าเสียงราบเรียบสะอาดลงตัวและต้องยอมรับว่ามีความเรียบแฟลตสูงมากๆ เมื่อถึงชั่วโมงที่ 70 ไปแล้ว แทบจะพูดว่ามันไม่มีสีสันใดๆ ทั้งในส่วนขาดและเกิน พูดได้ว่าอาจจะแฟลตจริงจังยิ่งไปกว่าRogers LS3/5A Classic ด้วยซ้ำไป ผมชอบเสียงที่เนียนสะอาดของช่วงกลางแหลม และความพลิ้วสวยงามของปลายความถี่ จากช่วง 10,000 Hz ขึ้นไปของ LS5/9 Classic ที่แสดงผลได้เยี่ยมมากๆ
ส่วนวูฟเฟอร์โพลีโพรไพลีน จะมีแนวโน้มในช่วงแรกๆ ว่าเบสดูอืดๆ ด้านๆ ไร้ความละมุน อยู่ในระดับหนึ่ง พอเลยพ้นจาก 40 ชั่วโมงต่อเนื่องกันไป จนถึงชั่วโมงที่ 60 คุณจะสัมผัสได้ถึงความอุ่นเนียน และจะค่อยๆ แสดงศักยภาพในความแม่นยำของหัวเบสช่วงต้นเพิ่มขึ้นทุกขณะ และเมื่อเข้าสู่คาบเวลาชั่วโมงที่ 70 -80 ขึ้นไป ตอนนี้จะสวยงามอิ่มเอมละมุนครบพร้อมทั้งหนักแน่นจริงจังด้วยเบสที่สะอาดน่าประทับใจ ทำงานเคียงคู่ไปกับทวีตเตอร์ ชนิดลงตัวเป๊ะครับ
ผลการทดสอบ ช่วงสองสัปดาห์เต็มๆ หลังเบิร์น มีบทสรุปว่า Rogers LS5/9 Classic นั้น เสียงกลางมีความกลมกลืนอย่างยิ่ง จากการทำงานร่วมกันของ ทวีตเตอร์ และวูฟเฟอร์ แสดงถึงความพิถีพิถันของจุดตัดแบ่งย่านความถี่ครอสโอเวอร์ ที่ลงตัวเป๊ะ กับการทำงานของไดรเวอร์ ผมชื่นชอบมากๆ เพราะเป็นเสียงกลางที่สามารถชี้เฉพาะเจาะจงบุคลิกของเครื่องดนตรี และเสียงร้องจากศิลปินคนโปรดได้แม่นยำ สมจริงยากจะหาลำโพงระดับเดียวกันทำได้ถึงขนาดนี้
เป็นลำโพงที่มีเนื้อเสียงเนียนละเอียดอ่อนชัดเจน แจ่มแจ้งเสมือนจริงอย่างถึงที่สุด คือถ้าเปรียบเทียบ LS3/5AClassic แล้วเราจะพบว่าเหมือนการขยายสเกลเสียงจากลำโพงรุ่นเล็กขึ้นมายัง Rogers LS5/9 Classic ด้วยสเกลเสียงดนตรีขยายใหญ่มากยิ่งขึ้น
ถ้าพิเคราะห์จากการออกแบบของ BBC LS3/5 A จะมีสเกลอัตราส่วนต่อดนตรีจริงย่อส่วนลงมา 8 เท่า ผมคาดว่าเสียงแบบ LS5/9 คือสเกลประมาณ 5 เท่า โดยคงคุณภาพเสียงในแบบ ที่มีความเที่ยงตรงอย่างยิ่งของ BBC Monitor อย่างเข้มงวดเช่นเดียวกัน
เพียงแต่ LS5/9 เสมือนขยายส่วนของ LS3/5A ขึ้นมาอีกสองเท่าตัว! ถ้าเทียบอัตราส่วนการได้ยินเสียงดนตรีจริง เพราะ LS3/5A นั้นให้ความดังสูงสุด SPL ที่ +98dB โดยวัดที่ระยะห่างออกมา 1.5 m แต่ LS5/9 จะได้ความดังสูงสุด เกิน +105 dB
Rogers LS5/9 Classic มีเสน่ห์อันลึกล้ำอยู่ที่เสียงกลางและเสียงต่ำที่มีความลึกแน่นสมจริงสมจังเป็นอย่างมาก ถ้าใครจะหลงใหลในเสียงแบบนี้ ก็คือนักฟังที่มีประการณ์สูง ฟังลำโพงมาแล้วนับไม่ถ้วน และจะมาหยุดที่ LS5/9 Classic เพราะรักในความสมจริงของดนตรีเนื้อแท้นั่นเอง
ในขณะที่เสียงแหลมช่วงปลายนั้นจะมีความสะอาดละเมียดละไมและส่งผลต่อความเป็นจริงมากกว่า จะมีการเสริมแต่งใดๆ เป็นลำโพงอีกคู่หนึ่งที่คุณสามารถฟังเสียงร้องจากศิลปินคนโปรดเสียงดนตรีที่มีความชัดเจนและมีความเที่ยงตรงในทุกระดับความดังอย่างเต็มอิ่ม
Rogers LS5/9 Classic ฟังเพลงได้ทุกสไตล์ด้วยเสียงอันบริสุทธิ์เที่ยงตรงโดยไม่มีข้อจำกัดใดๆ ที่สำคัญคือฟังได้โดยไม่เบื่อล้า ด้วยระยะเวลาที่ยาวนานอาจจะมากกว่า ลำโพงทุกคู่ที่คุณเคยมีประสบการณ์มา เพราะการฟัง “ความจริง” นั้นเราย่อมสามารถฟังได้ยาวนานกว่า “เสียงที่ปรุงแต่ง” ทั้งหลาย
หากเปรียบเทียบ LS5/9 Classic กับ LS3/5A Classic เราจะเห็นถึงความมีเสน่ห์เฉพาะตัวของลำโพงทั้งสองคู่นี้ ต่างก็มีเสน่ห์ในสเกลเสียงที่ต่างกัน และน่าประทับใจอย่างด้วยกันทั้งคู่
LS3/5A แต่ดั้งเดิมออกแบบมาสำหรับการฟังในระยะใกล้แบบ เนียร์ฟิลด์ แต่ LS5/9 ออกแบบมาให้ฟังได้ในระยะห่าง เหมือนการฟังเพลงปกติทั่วไปในแบบออดิโอไฟล์ และน่าชื่นชมที่ท่อพอร์ทอยู่ด้านหน้า ไม่มีเอฟเฟ็คมากนักกับการเซ็ตอัพลำโพงเข้ากับห้องฟังครับ
ความสิ้นสุดของ Rogers LS5/9 Classic อยู่ที่ความงดงาม เต็มอิ่มทุกย่านความถี่เสียง ให้ความบริสุทธิ์เหมือนน้ำกลั่น สะอาดสะอ้าน เวทีเสียงกว้างลึกมาก แจกแจงชิ้นดนตรีแม่นราวจับวาง สร้างมาตรฐานของเสียงดนตรีจริง ให้มาปรากฏต่อหน้า และนี่คือเสียงที่คู่กับ นักฟังเพลงระดับออดิโอไฟล์ ที่ไม่อยากได้ความแปลกปลอมใดๆ ให้แผ้วพานแม้แต่เล็กน้อย
เป็นครั้งแรกที่คุณจะฟังเพลิดเพลินเต็มอิ่ม แบบลืมวันเวลาไปเลยทีเดียว
Rogers LS/9 Classic เป็นเสมือนลำโพง รุ่น “บรมครู” หรือ ต้นแบบของลำโพง ซึ่งให้ความสมจริง ดำรงอยู่ในมาตรฐานสูงสุดในการฟังเพลงของคุณ.